• สรุป ข้อมูลการรับสมัคร ป.ตรี (ภาคปกติ)
⚠️ โปรดสละเวลาในการอ่านศึกษาข้อมูล ⚠️
หลักสูตรพรีดีกรี คลิกที่นี่
สรุป ! ข้อมูลการรับสมัครนักศึกษาใหม่ 1/2568

หลักสูตรปริญญาตรี (ภาคปกติ) ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
การรับสมัครครั้งต่อไปในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2568
เปิดรับช่วง พฤษภาคม – มิถุนายน 2568
*หลักสูตรพรีดีกรี(Pre-degree) คลิกที่นี่

  • ทำความเข้าใจเรื่อง ส่วนกลาง/ส่วนภูมิภาค กันก่อน
หลักสูตร ปริญญาตรี (ภาคปกติ) ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง เปิดการเรียนการสอน 2 ส่วน คือส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ซึ่งผู้สนใจต้องเลือกสมัครให้ตรงตามความต้องการตั้งแต่แรก เปรียบเทียบความแตกต่างได้ ดังตารางต่อไปนี้
ส่วนกลางส่วนภูมิภาค
ที่ตั้ง: มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพฯ มี 2 วิทยาเขต คือ หัวหมาก(วิทยาเขตหลัก) และบางนาที่ตั้ง: จัดตั้งศูนย์บริการนักศึกษาในจังหวัดต่างๆเรียกว่า “สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัด…” มีทั้งสิ้น 23 แห่ง
มีที่ไหนบ้างคลิก
สาขาวิชาที่รับสมัคร: 9 คณะ มากกว่า 60 สาขาวิชาสาขาวิชาที่รับสมัคร: 4 คณะ 4 สาขาวิชา
ค่าหน่วยกิต: 25 บาท/หน่วยกิตค่าหน่วยกิต: 50 บาท/หน่วยกิต
สถานที่เรียน: บรรยายสดที่ห้องเรียน รามฯ1 และ รามฯ2 และวิดีโอออนไลน์กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไปสถานที่เรียน: เทปบรรยายที่ห้องเรียนสาขาวิทยบริการฯ และวิดีโอออนไลน์ทุกวิชา
สถานที่สอบปลายภาค: สอบที่กรุงเทพฯ ม.รามคำแหง หัวหมาก(รามฯ1) และ บางนา(รามฯ2) เท่านั้นสถานที่สอบปลายภาค: สอบที่สาขาวิทยบริการฯ และศูนย์สอบ จำนวน 40+ แห่งทั่วประเทศ เลือกสอบที่ไหนก็ได้(ยกเว้นกรุงเทพฯ)
มีที่ไหนบ้างคลิก
ค่าใช้จ่ายการสมัคร
ป.ตรี(ภาคปกติ) ไม่เกิน 3,750 บาท
พรีดีกรี ไม่เกิน 3,100 บาท
ค่าใช้จ่ายการสมัคร
ป.ตรี(ภาคปกติ) ไม่เกิน 3,980 บาท
พรีดีกรี ไม่เกิน 3,280 บาท
รับสมัครปีละ 2 ครั้ง
คือ ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ของทุกปี
(รับสมัครครั้งต่อไปช่วงเดือนพฤษาคม-มิถุนายน 2568)
รับสมัครปีละ 1 ครั้ง
คือ เฉพาะภาคเรียนที่ 1 ของทุกปี (รับสมัครครั้งต่อไปช่วงเดือนพฤษาคม-มิถุนายน 2568)
แต่ถ้ายังไม่แน่ใจ… ตอบแบบสอบถามเพื่อรับคำแนะนำ 🙂 คลิกที่นี่

  • ประเภทที่รับสมัคร
หลักสูตร ปริญญาตรี (ภาคปกติ) รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า เป็นต้นไป เข้าศึกษาต่อโดยไม่ต้องสอบคัดเลือก และรับไม่จำกัดจำนวน แบ่งประเภทได้ดังนี้
  • แบบไม่เทียบโอนหน่วยกิต
    รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษา ตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า เข้าศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรี หมายความว่า ผู้ที่สำเร็จการศึกษา ม.6 สายสามัญ, กศน.ม.6, ปวช. สามารถสมัครเรียนได้
  • แบบเทียบโอนหน่วยกิต แบ่งย่อยได้ดังนี้
    (1) จบการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ
    (2) โอนย้ายสถาบันการอุดมศึกษาต่างๆ
    (3) หมดสถานภาพ นศ. จาก ม.รามคำแหง
    (4) เทียบโอนหน่วยกิต 2 สถาบัน (ม.รามคำแหง+สถาบันอุดมศึกษาอื่น)
    (5) ปริญญาใบที่สองจาก ม.รามคำแหง (เคยจบ ม.ราม มาก่อนแล้ว)
    (6) เทียบโอนหน่วยกิตจาก พรีดีกรี
    *อ่านคำอธิบายแต่ละอย่างหมายถึงอะไร เทียบโอนได้กี่หน่วยกิต ดูรายละเอียด คลิกที่นี่

  • ช่องทางและวันที่รับสมัคร
ผู้สนใจสมัครเรียนหลักสูตร ปริญญาตรี (ภาคปกติ) สามารถเลือกสมัครเป็นนักศึกษาช่องทางใดก็ได้ โดยกำหนดเปิดรับสมัคร มีดังนี้
  • สมัครด้วยตนเอง – (แนะนำ) 👌😎
    รับสมัคร ภาค 1/2568 ช่วงเดือน พฤษภาคม – มิถุนายน 2568
    ส่วนกลาง ณ อาคารหอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ม.รามคำแหง หัวหมาก (รามฯ1) กรุงเทพฯ (ไม่เปิดจุดรับสมัครที่รามฯ2)
    ส่วนภูมิภาค ณ ม.รามคำแหง สาขาวิทยบบริการฯ จังหวัดต่างๆ 23 แห่ง
  • สมัครผ่านระบบออนไลน์
    รับสมัคร ภาค 1/2568 ช่วงเดือน พฤษภาคม – มิถุนายน 2568
  • สมัครผ่านไปรษณีย์
    รับสมัคร ภาค 1/2568 ช่วงเดือน พฤษภาคม – มิถุนายน 2568
*ผู้สมัครแบบเทียบโอนหน่วยกิตต้องสมัครด้วยตนเอง หรือ ทางระบบออนไลน์เท่านั้น

  • การคัดเลือกเข้าศึกษา
หลักสูตร ปริญญาตรี (ภาคปกติ) รับสมัครนักศึกษาแบบไม่จำกัดจำนวน ไม่มีการสอบคัดเลือกเข้าศึกษา ไม่ต้องยื่นคะแนนสอบวิชาเฉพาะใดๆ ขอเพียงมีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ในระเบียบการรับสมัครอย่างครบถ้วนก็สมัครเรียนได้

  • ใบสมัคร และระเบียบการรับสมัคร
ใบสมัคร
การรับสมัครนักศึกษาใหม่ ระดับปริญญาตรี(ภาคปกติ) และพรีดีกรี ในครั้งนี้ ไม่มีการจำหน่ายใบสมัคร ผู้สมัครด้วยตนเองที่มหาวิทยาลัยรับใบสมัครได้ที่จุดรับสมัคร, ผู้สมัครผ่านระบบออนไลน์ กรอกใบสมัครในระบบ
ระเบียบการรับสมัครฯ การรับสมัครนักศึกษาใหม่ ระดับปริญญาตรี(ภาคปกติ) และพรีดีกรี ในครั้งนี้ ไม่มีการจำหน่ายระเบียบการรับสมัคร โดยผู้สมัครสามารถดาวน์โหลดระเบียบการรับสมัครฯ ซึ่งมีรายละเอียดต่าง ๆ ประกอบด้วย คุณสมบัติผู้สมัคร, หลักฐานการสมัคร, อัตราค่าใช้จ่าย, สาขาวิชาที่เปิดรับสมัคร, เกณฑ์การเทียบโอนหน่วยกิต และข้อมูลสำคัญอื่น ๆ กดลิงก์ต่อไปนี้เพื่อดาวน์โหลด
  • ระเบียบการรับสมัครฯ ปริญญาตรี และพรีดีกรี พ.ศ. 2567
    ส่วนกลาง ปี 67 | ส่วนภูมิภาค ปี 67
  • ระเบียบการรับสมัครฯ ปริญญาตรี และพรีดีกรี พ.ศ. 2568
    (เปิดให้ดาวน์โหลดช่วงวันที่เปิดรับสมัคร)

  • สาขาวิชาที่เปิดรับสมัคร
หลักสูตร ปริญญาตรี (ภาคปกติ) ส่วนกลาง เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ 9 คณะ มากกว่า 60 สาขาวิชา ดังนี้
  • คณะนิติศาสตร์
  • คณะบริหารธุรกิจ
  • คณะเศรษฐศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์
  • คณะรัฐศาสตร์
  • คณะศึกษาศาสตร์
  • คณะสื่อสารมวลชน
  • คณะมนุษยษศาสตร์
  • คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
หลักสูตร ปริญญาตรี (ภาคปกติ) ส่วนภูมิภาค เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ 4 คณะ 4 สาขาวิชา ดังนี้ (ไม่เปิดรับสมัครส่วนภูมิภาคในภาคเรียนนี้)
  • คณะนิติศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์
  • คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ
  • คณะรัฐศาสตร์ กลุ่มวิชาการบริหารรัฐกิจ
  • คณะสื่อสารมวลชน สาขาวิชานิเทศศาสตร์และสื่อดิจิทัล
หมายเหตุ
– ตรวจสอบรายชื่อสาขาวิชาที่เปิดรับสมัคร ปี 2567 คลิกที่นี่

– สาขาวิชาที่เปิดรับสมัคร ปี 2568 จะทราบได้เมื่อเปิดให้ดาวน์โหลดระเบียบการรับสมัคร


  • ค่าใช้จ่ายการสมัคร
การสมัครเป็นนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี (ภาคปกติ) สามารถแบ่งค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระได้เป็น 2 ส่วน คือ 1. ค่าสมัครและลงทะเบียนเรียน และ 2. ค่าเทียบโอนหน่วยกิต
  • ค่าสมัครและลงทะเบียนเรียนต้องชำระทันทีในวันสมัคร
    ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ประกอบด้วย ค่าขึ้นทะเบียนเข้าเป็นนักศึกษา, ค่าธรรมเนียมแรกเข้าศึกษา, ค่าทำบัตรประจำตัวนักศึกษา, ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย, ค่าบริการสารสนเทศ, ค่าหน่วยกิต
    ส่วนกลาง ไม่เกิน 3,750 บาท
    ส่วนภูมิภาค ไม่เกิน 3,980 บาท
  • ค่าเทียบโอนหน่วยกิต(ถ้ามี)ชำระได้ภายหลัง
    **หากสมัครแบบไม่เทียบโอนหน่วยกิตจะไม่มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้**
    ค่าเทียบโอนหน่วยกิต คิดตามประเภทผู้สมัคร ดูรายละเอียดคลิก โดยมหาวิทยาลัย จะเรียกเก็บค่าเปิดฐานข้อมูลการเทียบโอนหน่วยกิต เป็นเงิน 100 บาทในวันที่สมัครก่อน โดยผู้สมัครไม่จำเป็นต้องชำระค่าเทียบโอนในวันสมัครก็ได้ ผู้สมัครสามารถชำระค่าเทียบโอนหน่วยกิตทั้งหมดได้โดยไม่มีค่าปรับภายใน 1 ปี นับจากวันที่สมัคร หากพ้นระยะเวลา 1 ปี จะมีค่าปรับกรณีชำระค่าเทียบโอนหน่วยกิตล่าช้า ภาคการศึกษาละ 300 บาท (ปีละ 600 บาท) โดยค่าเทียบโอนหน่วยกิตต้องชำระค่าเทียบโอนทั้งหมดภายในครั้งเดียว ไม่สามารถแบ่งชำระได้ 

  • เรียนอย่างไร ?
รูปแบบการเรียนระดับ ปริญญาตรี (ภาคปกติ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง ไม่บังคับเข้าชั้นเรียน นักศึกษาสามารถเลือกวิธีการหาความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยมหาวิทยาลัยจะจัดรูปแบบการศึกษาแบบ Hybrid คือ อาจารย์จัดบรรยายในห้องเรียนที่มหาวิทยาลัยเป็นหลัก บรรยายเฉพาะวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 7.20-17.20 น. และมีการบรรยายสรุป วันเสาร์-อาทิตย์ เฉพาะนักศึกษาส่วนภูมิภาค สามารถสรุปรูปแบบการเรียนได้ดังนี้
  • ฟังบรรยายที่ห้องเรียน
    มหาวิทยาลัยมีห้องบรรยายทุกระบวนวิชา นักศึกษาสามารถเดินทางมาที่มหาวิทยาลัย ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อเข้าฟังบรรยายได้
  • หนังสือ/ตำราเรียน ซื้อเอง-อ่านเอง
    ตำรา/หนังสือเรียน จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
    – สั่งซื้อออนไลน์ที่ RU-Press Bookstore
    – ซื้อด้วยตนเองได้ที่ ศูนย์หนังสือ ม.รามคำแหง อาคารสำนักพิมพ์ ชั้น 3 ดูวันเปิดจำหน่าย คลิกที่นี่
  • ถ่ายทอดสดและวิดีโอย้อนหลัง ผ่านระบบออนไลน์
    – Cyber Cloassroom ถ่ายทอดสดจากห้องเรียน*
    – Course on-demand วิดีโอการบรรยายย้อนหลัง
    *
    *ส่วนภูมิภาค ดูสดและย้อนหลังได้ทุกวิชา / ส่วนกลาง ดูสดและย้อนหลังได้เฉพาะกลุ่มวิชาศึกษาทั่วไปเท่านั้น
หมายเหตุ:
(1) เมื่อผู้สมัครมีสถานะการเป็นนักศึกษาแล้ว สามารถเข้าฟังบรรยายที่ห้องเรียน และใช้สื่อการถ่ายทอดสดและวิดีโอย้อนหลังได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม เนื่องจากค่าสมัครและลงทะเบียนเรียนครอบคลุมสิทธิ์การใช้งานแล้ว ยกเว้น สื่อประเภท หนังสือเรียน/ตำราเรียน และวิดีโอบรรยายสรุปการสอนจากสำนักเทคโนโลยีการศึกษา นักศึกษาต้องจัดซื้อด้วยตนเอง จะซื้อหรือไม่ก็ได้ ไม่บังคับ
(2) นักศึกษาที่สมัครเรียนสาขาวิชาที่ต้องเรียนรู้ด้านทักษะวิชาชีพและปฏิบัติการ เช่น คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ บริหารธุรกิจ(บางสาขา) สื่อสารมวลชน แนะนำให้เข้าเรียนหรือพบอาจารย์ประจำวิชา จะทำให้มีโอกาสสอบผ่านมากขึ้น

ยังไม่เปิดรับสมัคร
  • คำถามที่พบบ่อย ? (FAQ)

รายละเอียดค่าใช้จ่ายทั้งหมด คลิกที่นี่

หมายเหตุ

  • อัตราค่าใช้จ่ายการสมัครเป็นนักศึกษาใหม่ ที่ปรากฎข้างต้นเป็นค่าใช้จ่ายสูงสุดแปรผลตามหน่วยกิตที่ลงทะเบียนเรียน หากลงทะเบียนเรียนวิชาน้อยค่าใช้จ่ายจะน้อยลงด้วย โดยค่าใช้จ่ายนี้ประกอบด้วย (1)ค่าบำรุงการศึกษา, (2)ค่าธรรมแรกเข้าเป็นนักศึกษา, (3)ค่าทำบัตรประจำตัวนักศึกษา, (4)ค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษา, (5)ค่าบริการสารสนเทศ, (6)ค่าหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน, (7)ค่าธรรมเนียมการสอบ(เฉพาะผู้สมัครส่วนภูมิภาค)
  • อัตราค่าใช้จ่ายการสมัครเป็นนักศึกษาใหม่ไม่รวม ค่าหนังสือ ชุดนักศึกษา ประกันภัย ฯลฯ ซึ่งนักศึกษาจะซื้อเพิ่มเติมหรือไม่ก็ได้
ใช่ เมื่อผู้สมัครทำการสมัครครบทุกขึ้นตอนแล้ว ก็จะมีสถานภาพการเป็นนักศึกษา ม.รามคำแหง เลย สามารถรอเปิดเทอมและเข้าเรียน(ถ้าต้องการ)ได้เลย

ขั้นตอนการสมัครแบบออนไลน์ แบบไม่เทียบโอนหน่วยกิต (เสร็จสิ้นภายใน 5-7 วันทำการ)
1. กรอกข้อมูลการสมัครในระบบรับสมัคร
2. เลือกวิชาลงทะเบียนเรียน
3. ชำระเงินค่าสมัครและค่าลงทะเบียนเรียน
4. อัพโหลดหลักฐานส่วนตัว, หลักฐานการศึกษา, หลักฐานการชำระเงินเข้าสู่ระบบ
5. รอการตรวจสอบจากมหาวิทยาลัย หากหลักฐานครบถ้วน มหาวิทยาลัยก็จะออกรหัสประจำตัวนักศึกษาและใบเสร็จชำระเงินให้ ซึ่งพอถึงตรงนี้ก็มีสถานภาพการเป็นนักศึกษาแล้ว รอเปิดเทอมเรียนได้เลย (เสร็จสิ้นทุกขั้นตอนภายใน 5-7 วันทำการ)

ขั้นตอนการสมัครแบบออนไลน์ แบบเทียบโอนหน่วยกิต (เสร็จสิ้นภายใน 7-14 วันทำการ)
1. กรอกข้อมูลการสมัครในระบบรับสมัคร
2. เลือกวิชาลงทะเบียนเรียน
3. อัพโหลดหลักฐานการศึกษาเข้าสู่ระบบ ให้จนท.ตรวจสอบวิชาการเทียบโอน
4. จนท.อนุมัติวิชาการลงทะเบียนเรียน
5. ชำระเงิน
6. รอการตรวจสอบจากมหาวิทยาลัยครั้งสุดท้าย หากหลักฐานครบถ้วน มหาวิทยาลัยก็จะออกรหัสประจำตัวนักศึกษาและใบเสร็จชำระเงินให้ ซึ่งพอถึงตรงนี้ก็มีสถานภาพการเป็นนักศึกษาแล้ว รอเปิดเทอมเรียนได้เลย

ขั้นตอนการสมัคร แบบเทียบโอน/ไม่เทียบโอน ที่มหาวิทยาลัย (เสร็จสิ้นภายในวันเดียว) อยากให้ทุกคนมาสมัครด้วยตนเองจีจี
1. กรอกข้อมูลการสมัคร
2. ตรวจสอบหลักฐานการสมัคร
4. ออกรหัสประจำตัวนักศึกษา
5. ลงทะเบียนเรียน/เลือกวิชาเทียบโอนหน่วยกิต
6. ชำระเงิน มีสถานภาพการเป็นนักศึกษาทันที ใช้เวลาการสมัครทุกกระบวนการประมาณ 1 ชม. เสร็จสิ้นภายในวันที่สมัคร

การสมัครเข้าเรียนระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ไม่ต้องสอบคัดเลือก เมื่อดำเนินการสมัครเสร็จสิ้นทุกขั้นตอนแล้ว ผู้สมัครจะมีสถานภาพการเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • กรณีต้องการเข้าฟังบรรยายที่มหาวิทยาลัย
    ส่วนกลาง
    ห้องบรรยายของนักศึกษาส่วนกลาง มีทั้งที่ ม.รามคำแหง หัวหมาก และ ม.รามคำแหง บางนา นักศึกษาสามารถเดินทางมาฟังบรรยายที่มหาวิทยาลัยได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม และไม่จำเป็นต้องแสดงตนก่อนเข้าห้องเรียน โดยเวลาบรรยายของแต่ละวิชานั้นระบุอยู่ใน “ตาราง ม.ร.30” ประจำภาคเรียนนั้นๆ หากไม่ทราบว่าแต่ละวิชาเรียนวัน/เวลาอะไร เราขอแนะนำให้อ่านบทความ วิธีทำตารางเรียนสำหรับนักศึกษาใหม่
    ส่วนภูมิภาค
    นักศึกษาส่วนภูมิภาค สามารถเข้าฟังบรรยายผ่านระบบโทรทัศน์ที่เปิดตามตารางบรรยายได้ที่สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติใกล้บ้านได้
  • กรณีใช้สื่อการเรียนด้วยตนเอง
    มหาวิทยาลัยมีสื่อการเรียนให้นักศึกษาเลือกใช้ ดังนี้
    Cyber Classroom ถ่ายทอดสดจากห้องเรียน(ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม)
    Course on-demand วิดีโอการบรรยายย้อนหลัง(ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม)
    – หนังสือตำราเรียน จากสำนักพิมพ์ ม.รามคำแหง ซื้อมาศึกษาด้วยตนเอง(จัดซื้อเพิ่มเติมด้วยตนเอง)
วันเปิดเทอม(เริ่มบรรยาย) ภาคเรียนที่ 1/2568
*จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง
เมื่อถึงเวลาสอบไล่ปลายภาคเรียน นักศึกษาจะต้องเข้าสอบวัดผลทางการเรียน 1 ครั้ง โดยมีการกำหนดวันสอบไล่แจ้งให้ทราบจากปฏิทินการศึกษา

นักศึกษาส่วนกลาง มหาวิทยาลัยจะเลือกสถานที่สอบในแต่ละวิชาให้นักศึกษาเอง โดยมีโอกาสเข้าสอบได้ทั้ง 2 แห่ง คือ
(1) ม.รามคำแหง หัวหมาก (รามฯ 1)
(2) ม.รามคำแหง บางนา (รามฯ 2)
นักศึกษาส่วนภูมิภาค สามารถเลือกสนามสอบเองได้ตามต้องการ(ยกเว้นกรุงเทพฯ) ไม่รู้ว่าทุกคนจำได้หรือเปล่า เพราะในขั้นตอนการลงทะเบียนเรียน(ตอนสมัครเรียน) เราได้เลือกสถานที่สอบเอาไว้ตั้งแต่ตอนโน้นแล้วนะ ลองกลับไปดูใบเสร็จรับเงินอีกครั้ง และในการลงทะเบียนเรียนทุกๆภาคเรียน เราก็สามารถเลือกศูนย์สอบได้ใหม่ทุกครั้ง
ดูรายชื่อสนามสอบได้ที่นี่ คลิก

เพราะ “ปฏิทินการศึกษา” นั้นบอกวันสำคัญต่างๆเกี่ยวกับการเรียน เช่น วันเริ่มบรรยาย(เปิดเทอม) วันลงทะเบียนเรียน วันลงทะเบียนสอบซ่อม วันสอบซ่อม วันบอกเลิก-เพิ่มกระบวนวิชา วันสอบไล่ วันลงทะเบียน/สอบอีเทสติ้ง และวันสำคัญอื่นๆ
(นักศึกษา ป.ตรี (ภาคปกติ) และพรีดีกรี จะใช้ปฏิทินการศึกษาเดียวกัน) ขอให้นักศึกษาสละเวลาเข้าดูก่อนน้า

🗓 ดูได้ผ่านเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย
หรือเข้าผ่านรอบรั้วรามฯ https://www.aroundram.com/yearplan/
หรือเว็บไซต์ สวป. ส่วนกลาง / ส่วนภูมิภาค
และบันทึกเก็บเอาไว้วางแผนการเรียนตลอดทั้งเทอมนะครับ

นักศึกษาส่วนกลาง (ภาคปกติและพรีดีกรี)

ค่าใช้จ่ายที่จะต้องชำระในการลงทะเบียนเรียน ประกอบด้วย
(1) ค่าบำรุงการศึกษา นศ.ภาคปกติ 800 บาท / พรีดีกรี 500 บาท
(2) ค่าบริการสารสนเทศ 100 บาท
(3) ค่าหน่วยกิต ภาคปกติ หน่วยละ 25 บาท / พรีดีกรี หน่วยละ 50 บาท
ถ้าลงทะเบียนเรียนหลายวิชา ก็จะมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นตามไปด้วย
สรุป ภาคเรียนต่อ ๆ ไป จะมีค่าใชัจ่าย 1,125 – 1,450 บาท สำหรับภาคปกติ และ ค่าใช้จ่าย 1,050-1,700 บาท สำหรับพรีดีกรี

นักศึกษาส่วนภูมิภาค (ภาคปกติและพรีดีกรี)

ค่าใช้จ่ายที่จะต้องชำระในการลงทะเบียนเรียน ประกอบด้วย
(1) ค่าบำรุงการศึกษา 600 บาท / พรีดีกรี 300 บาท
(2) ค่าบริการสารสนเทศ 100 บาท
(3) ค่าหน่วยกิต หน่วยละ 50 บาท ทั้งภาคปกติและพรีดีกรี
(4) ค่าธรรมการสอบ วิชาละ 60 บาท
ถ้าลงทะเบียนเรียนหลายวิชา ก็จะมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นตามไปด้วย
สรุป ภาคเรียนต่อ ๆ ไป จะมีค่าใชัจ่าย 1,330-2,700 บาท สำหรับภาคปกติ และ ค่าใช้จ่าย 1,030-2,320 บาท สำหรับพรีดีกรี

ระยะเวลาของหลักสูตร ทุกคนสามารถตรวจสอบระยะเวลาของหลักสูตรได้จาก “ระเบียบการรับสมัครฯ” จะมีการระบุข้อความว่า “Total for ….. years” (ดังตัวอย่างภาพด้านบนนี้) ซึ่งจะระบุอย่างชัดเจนในทุกคณะ/สาขาวิชา หมายความ ว่าท่านสามารถจบการศึกษาได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ หากมีการสอบสะสมหน่วยกิตได้ตามแผนการเรียนที่แนะนำเอาไว้ จริงๆแล้ว ต้องเรียนกี่ปี ? จริงๆแล้วนักศึกษาสามารถใช้เวลาเรียนให้จบการศึกษาเร็วกว่าหรือช้ากว่าที่กำหนดก็ได้ โดยนักศึกษามีสิทธิลงทะเบียนเรียนอย่างต่อเนื่องได้ถึง 8 ปีการศึกษา(สำหรับหลักสูตร 4 ปี) หรือลงทะเบียนเรียนอย่างต่อเนื่องได้สูงสุด 10 ปีการศึกษา(สำหรับหลักสูตร 5 ปี) คำว่า “อย่างต่อเนื่อง” หมายถึงมีการลงทะเบียนเรียนติดต่อกันเพื่อคงสถานภาพการเป็นนักศึกษาไว้ ไม่ให้ขาดสถานภาพจนกว่าจะเรียนจบจริงๆ จบเร็วที่สุดกี่ปี ? กรณีตัวอย่าง หลักสูตรของสาขาวิชานิติศาสตร์ กำหนดให้ต้องสอบสะสม 140 หน่วยกิต สามารถสอบสะสมได้เร็วที่สุดภายใน 2 ปีครึ่ง – 3ปี เพราะมหาวิทยาลัยรามคำแหง เปิดให้ลงทะเบียนเรียนและสอบสะสมหน่วยกิตได้สูงสุด ปีการศึกษาละ 51 หน่วยกิต (3 ปี = 51+51+ที่เหลือ = 140 หน่วยกิต) โดยสามารถแจกแจงจำนวนหน่วยกิตที่ลงทะเบียนเรียนต่อ 1 ปีการศึกษา ดังนี้
1 ปีการศึกษา ประกอบด้วย 3 ภาคเรียน คือ
  • ภาคเรียนที่ 1 สะสมได้สูงสุด 21 หน่วยกิต
  • ภาคเรียนที่ 2 สะสมได้สูงสุด 21 หน่วยกิต
  • ภาคฤดูร้อน สะสมได้สูงสุด 9 หน่วยกิต
    รวม 21+21+9 = 51 หน่วยกิต/ปีการศึกษา
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะทำได้ …..เพราะการสอบเพื่อสะสมได้สูงสุดเต็มจำนวนในทุก ๆ ภาคเรียนนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้องค์ประกอบหลายอย่าง ตั้งแต่การวางแผนการลงทะเบียนและเลือกวิชาที่ดีมีความเหมาะสม(นักศึกษารามคำแหง ต้องเลือกวิชาเรียนด้วยตนเองทุกภาคเรียน), การวางแผนการสอบก็สำคัญมาก, วันสอบของวิชานั้น ๆ อาจเป็นวันที่เราไม่สะดวกจนไม่ได้ไปสอบ, เราอาจสอบตก, หรือแม้แต่ลืมลงทะเบียนสอบซ่อม และเหตุผลร้อยแปด ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้ระยะเวลาการเรียนเพิ่มขึ้น หรือบางคนท้อใจจนหยุดเรียนไป นี่จึงอาจเป็นเหตุผลทของวลีที่ว่า “เรียนรามฯ เข้าง่าย ออกยาก”

…แต่ถ้าคุณอ่านมาถึงตรงนี้ เราคิดว่าคุณทำได้แน่นอน น้อยคนนักที่จะอ่านมาถึงตรงนี้ เราเชื่อว่าคุณมีศักยภาพด้านการอ่าน การวางแผน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เราขออวยพรให้คุณประสบความสำเร็จทางการเรียน และจบได้เร็วเท่าที่ตั้งใจไว้…

สมัครเสร็จแล้ว ตารางเรียนทำยังไง ?

ส่วนกลาง
หลักจากที่ทำการสมัครเป็นนักศึกษาใหม่เรียบร้อยแล้ว นักศึกษาใหม่ทุกท่านสามารถจัดทำ “ตารางเรียน” ส่วนบุคคลเอาไว้ใช้ประกอบหากต้องการมาเรียนที่มหาวิทยาลัย และตารางเรียนที่จะแนะนำวิธีการทำนี้ จะมีรายละเอียดการสอบ/วันสอบไล่ปลายภาคของเราอยู่ด้วย >> อ่านวิธีการทำตารางเรียนของตัวเองได้ที่นี่ >> คลิก <<

ส่วนภูมิภาค
ดาวน์โหลดตารางการบรรยายได้ที่เว็บไซต์มหาวิทยาลัย หรือที่ระเบียบการรับสมัคร ส่วนภูมิภาค 2567 พลิกหาข้อมูลตารางบรรยายได้เลย

ค่าใช้จ่ายที่ชำระในการสมัคร ไม่รวมค่าหนังสือ/ตำราเรียน ดังนั้นหากนักศึกษาต้องการ จะต้องดำเนินการจัดซื้อด้วยตนเอง

ราคาหนังสือ

ตรวจสอบราคาหนังสือ/ตำราเรียนของมหาวิสามารถตรวจสอบราคาหนังสือแต่ละเล่มได้ที่เว็บไซต์ของสำนักพิมพ์ ม.ร. http://www.rupress.ru.ac.th/bookstore/ และทำการค้นหาชื่อหนังสือตามรหัสวิชาตามที่ต้องการ

ช่องทางการสั่งซื้อหนังสือ
  • สั่งออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ http://www.rupress.ru.ac.th/bookstore/ 
  • ซื้อด้วยตนเองได้ที่ ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง อาคารสำนักพิมพ์ ชั้น 3 ม.รามคำแหง หัวหมาก(รามฯ 1)
    เปิดบริการในวัน จันทร์-ศุกร์ 9.00-15.30 น.
    ปิดบริการวันเสาร์-อาทิตย์ หรือกรณีเปิดพิเศษในวันหยุดจะแจ้งให้ทราบก่อน
    ดูวันเปิดจำหน่ายของศูนย์หนังสือ คลิก
คลิกที่นี่เพื่อดูภาพใหญ่
  • เสื้อ/กระโปรง/กางเกง สามารถเลือกซื้อสถานที่ใดก็ได้ตามความสะดวก
  • ตุ้งติ้ง/เข็มกลัดพ่อขุน/เข็มขัดตรามหาวิทยาลัย มีจำหน่ายที่สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง และช่องทางออนไลน์ของสำนักพิมพ์ หรือเลือกซื้อที่ใดก็ได้ตามความสะดวก
  • คำแนะนำของรอบรั้วรามฯ : นักศึกษาสามารถปรับการแต่งกายตามสไตล์ของตัวเองได้ แต่ควรอยู่บนพื้นฐานความเรียบร้อยเหมาะสมกับเวลาและสถานที่
ประชาสัมพันธ์