หน้านี้ไม่อัพเดทข้อมูลแล้ว
โปรดเข้าดูข้อมูลการรับสมัครฯได้ที่
https://www.aroundram.com/courses

ข้อมูลการรับสมัคร ปริญญาตรี ภาคปกติ ส่วนกลาง ปีการศึกษา 2566

ดาวน์โหลดระเบียบการรับสมัคร

โปรดดาวน์โหลด “ระเบียบการรับสมัครและแผนกำหนดการศึกษาชั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2566” ซึ่งบรรจุข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะ/สาขาวิชาที่เปิดรับ, ตารางแจกแจงค่าธรรมเนียมการศึกษา, แผนกำหนดการศึกษา(โครงสร้างหลักสูตร), เกณฑ์การเทียบโอนหน่วกิต, ประกาศมหาวิทยาลัย, ข้อกำหนด และรายละเอียดการรับสมัครอื่นๆ ที่ควรทราบ ด้วยการกดลิงก์ต่อไปนี้(ไม่มีค่าใช้จ่าย)
  • ระเบียบการรับสมัคร ป.ตรี(ภาคปกติ) ส่วนกลาง พ.ศ. 2566 (ฉบับเต็ม) เปิดดาวน์โหลด 1 พ.ค. 66
หมายเหตุ:
– การรับสมัครครั้งนี้ ไม่มีการจำหน่ายใบสมัคร ผู้ที่สมัครผ่านระบบออนไลน์จะได้กรอกใบสมัครในระบบ, ผู้สมัครด้วยตนเองที่มหาวิทยาลัย จะได้รับใบสมัคร ณ จุดรับสมัคร
– ผู้สมัครที่เป็นชาวต่างประเทศ จะต้องเข้ารับการทดสอบภาษาไทยก่อนทำการสมัคร (Foreigners must take the Thai language test first.) Click คลิกรายละเอียด
– ระเบียบการรับสมัครฯ ป.ตรี(ภาคปกติ) ส่วนกลาง พ.ศ.2565 ดาวน์โหลดที่นี่

ประเภทที่รับสมัคร

การรับสมัครนักศึกษาใหม่ แบ่งเป็นสมัครแบบไม่เทียบโอนหน่วยกิต และเทียบโอนหน่วยกิต คลิกที่หัวข้อเพื่อดูรายละเอียด

รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษา ตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า เป็นต้นไป เช่น

  • สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญ
  • สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย การศึกษานอกระบบ(กศน.)
  • สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
  • สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวส.)*
  • สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี*
  • ผู้มีประกาศเทียบวุฒิการศึกษา GED
  • วุฒิอื่น ๆ ที่ระบุไว้ในระเบียบการรับสมัครฯ
* หมายถึง วุฒิการศึกษาดังกล่าวมีสิทธิ์เทียบโอนหน่วยกิตได้ แต่ถ้าไม่ประสงค์เทียบโอนหน่วยกิตก็สามารถทำได้

รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษา ตั้งแต่ระดับอนุปริญญา เป็นต้นไป ยื่นสมัครและเทียบโอนหน่วยกิตสะสมได้ โดยแบ่งเป็น

  • จบการศึกษาจากสถาบันอื่น
    รับสมัครผู้ที่สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุปริญญาเป็นต้นไป ได้แก่ จบการศึกษาระดับ ปวส., ปริญญาตรีเป็นต้นไป เทียบโอนหน่วยกิตสะสมได้ตั้งแต่ 27-33 หน่วยกิต ตามคุณวุฒิที่ใช้ยื่นสมัคร
  • โอนย้ายสถาบันการศึกษา
    รับสมัครผู้ที่เคยเรียนในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในสถาบันต่าง ๆ (ยกเว้นม.รามคำแหง) แต่ไม่จบการศึกษา(รีไทร์, ลาออก,​ ซิ่ล) สามารถโอนย้ายหน่วยกิตมาเรียนต่อที่ ม.รามคำแหงได้
  • หมดสถานภาพนักศึกษาจาก ม.รามคำแหง
    หมายถึง นักศึกษาเก่ารามคำแหง ที่ขาดสถานภาพ, ครบ8ปียังไม่จบ, หมดสถานภาพ แต่มีหน่วยกิตที่เคยสะสมเอาไว้ ให้เทียบโอนประเภทนี้
  • เทียบโอนหน่วยกิต 2 สถาบัน
    ผู้ที่เคยสอบสะสมหน่วยกิตของมหาวิทยาลัยรามคำแหงมาก่อน และจบการศึกษาจากสถาบันอื่น ๆ แล้ว(เช่น จบปวส. จบปริญญาตรี ในลำดับต่อมา) และต้องการนำหน่วยกิตทั้งสองแห่งมารวมกัน ให้เลือกสมัครประเภทนี้
  • ปริญญาที่ 2 จาก ม.รามคำแหง
    ศิษย์เก่า ม.รามคำแหง ที่จบปริญญาเรียบร้อยแล้ว และต้องการเทียบโอนเรียนเพิ่มอีกหนึ่งใบ
  • เทียบโอน Pre-degree ม.รามคำแหง
    เมื่อนักศึกษาพรีดีกรี เรียนจบชั้น ม.6 เรียบร้อยแล้ว ให้ยื่นสมัครด้วยวุฒิ ม.6 พร้อมเทียบโอนหน่วยกิตที่สะสมไว้ในระบบพรีดีกรี และเป็นสถานะให้เป็นนักศึกษาภาคปกติ

รวบรวมมาจากคำถามที่พบบ่อย จากผู้ที่มีความสนใจสมัครแบบเทียบโอนหน่วยกิต แต่มีคุณสมบัติไม่เข้าเงื่อนไข จึงไม่สามารถสมัครแบบเทียบโอนหน่วยกิตได้ เช่น

  • ผู้ที่กำลังศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาอื่น และยังไม่สำเร็จการศึกษาอย่างเป็นทางการ จะเทียบโอนไม่ได้
  • ผู้ที่กำลังศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาอื่น และยังต้องการเรียนต่อสถาบันเดิมควบคู่กับรามคำแหง จะเทียบโอนไม่ได้(แต่สมัครแบบไม่เทียบโอนได้)
  • ผู้ที่จบ ม.ปลาย หรือ กศน.ม.ปลาย และไม่เคยสะสมหน่วยกิตพรีดีกรีมาก่อน จะเทียบโอนไม่ได้

คณะภาคปกติ

สาขาวิชา

สาขาวิชาที่เปิดรับสมัคร

หลักสูตรปริญญาตรี ภาคปกติ รับสมัครผู้สนใจเข้าศึกษาแบบ ไม่จำกัดจำนวน ไม่ต้องสอบคัดเลือกเข้าศึกษา โดยในปีการศึกษา 2565 มหาวิทยาลัยเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่เข้าศึกษาในสาขาวิชาดังต่อไปนี้
  • สาขาวิชาที่เปิดรับสมัคร ระดับปริญญาตรี 2566
    ปีการศึกษา 2566 ยังไม่ประกาศ (ประกาศวันที่ 1 พฤษภาคม 2566)

การเทียบโอนหน่วยกิต

รายละเอียดการเทียบโอนหน่วยกิตสำหรับผู้มีคุณสมบัติเทียบโอนได้ในกรณีต่าง ๆ

ช่องทาง และกำหนดวันรับสมัคร

มหาวิทยาลัยเปิดรับสมัคร ระดับปริญญาตรี ส่วนกลาง ปีการศึกษาละ 2 ครั้ง คือ ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 (ป.ตรี ภาคปกติ และพรีดีกรี สมัครพร้อมกัน) ผู้สนใจสมัครเรียนที่มีวุฒิจบการศึกษาแล้ว สามารถสมัครเป็นนักศึกษาภาคเรียนใดก็ได้ ช่องทางใดก็ได้ ตามวันเวลาที่กำหนด และความสะดวกดังต่อไปนี้

ส่วนกลาง

  • สมัครผ่านระบบออนไลน์ (สมัครได้ทั้งผู้ที่เทียบโอน/ไม่เทียบโอนหน่วยกิต)
    ที่เว็บไซต์ iregis2.ru.ac.th
    ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 2 กรกฎาคม 2566
  • สมัครด้วยตนเอง (Walk-in) (สมัครได้ทั้งผู้ที่เทียบโอน/ไม่เทียบโอนหน่วยกิต) – ช่องทางนี้สะดวกและรวดเร็วที่สุด
    สถานที่: อาคารหอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เวลา 08.30-15.30 น. มหาวิทยาลัยรามคำแหง(รามฯ1) หัวหมาก ถ.รามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ติดกับสนามราชมังคลากีฬาสถาน (นำทางด้วย Google Maps คลิกที่นี่)
    ช่วงที่ 1: วันที่ 18 – 21 พฤษภาคม 2566
    ช่วงที่ 2: วันที่ 29 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม 2566
  • สมัครผ่านไปรษณีย์ (เฉพาะผู้ไม่เทียบโอนหน่วยกิต)
    ดาวน์โหลดใบสมัครและส่งหลักฐานการสมัครทางไปรษณีย์
    ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 23 มิถุนายน 2566

อัตราค่าใช้จ่ายการสมัคร และค่าธรรมเนียมการศึกษา

สื่อการเรียนการสอน – ส่วนกลาง

รูปแบบการเรียน ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ส่วนกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ไม่บังคับเข้าชั้นเรียน จัดรูปแบบการศึกษาแบบ Hybrid คือ อาจารย์จัดบรรยายในห้องเรียนที่มหาวิทยาลัยเป็นหลัก และมีสื่อการเรียนให้บริการ ดังนี้
  • บรรยายในชั้นเรียน
    มหาวิทยาลัยมีห้องบรรยายทุกระบวนวิชา นักศึกษาสามารถเดินทางมาที่มหาวิทยาลัยเพื่อเข้าฟังบรรยายได้
  • หนังสือ/ตำราเรียน ซื้อเอง-อ่านเอง
    ตำรา/หนังสือเรียน จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
    – สั่งซื้อออนไลน์ที่ RU-Press Bookstore
    – ซื้อด้วยตนเองได้ที่ ศูนย์หนังสือ ม.รามคำแหง อาคารสำนักพิมพ์ ชั้น 3 ดูวันเปิดจำหน่าย คลิกที่นี่
  • ถ่ายทอดสดและวิดีโอย้อนหลัง
    ถ้าไม่ว่าง/ไม่สะดวกเข้าห้องเรียน ก็ยังใช้สื่อ Cyber Classroom ถ่ายทอดสดการบรรยายจากห้องเรียน เข้าใช้งานได้ที่ CyberClassroom.ru.ac.th
    หรือ Course on-demand วิดีโอคำบรรยายย้อนหลัง ให้บริการรูปแบบคลิปวิดีโอ ผ่านเว็บไซต์ www.m-learning.ru.ac.th
    *ให้บริการเฉพาะกลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป ไม่ได้มีออนไลน์ทั้งหมด*
  • วิดีโอจากสำนักเทคโนโลยีการศึกษา
    จำหน่าย วิดีโอการบรรยายสรุปการสอน ในรูปแบบ DVD , USB Drive และ Google Drive ณ สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก (ให้บริการบางกระบวนวิชา) รายละเอียด คลิก
โปรดทราบ: เมื่อผู้สมัครมีสถานะการเป็นนักศึกษาแล้ว สามารถเข้าฟังบรรยายที่ห้องเรียน และใช้สื่อการถ่ายทอดสดและวิดีโอย้อนหลังได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม เนื่องจากค่าสมัครและลงทะเบียนเรียนครอบคลุมสิทธิ์การใช้งานแล้ว ยกเว้น สื่อประเภท หนังสือเรียน/ตำราเรียน และวิดีโอบรรยายสรุปการสอนจากสำนักเทคโนโลยีการศึกษา นักศึกษาต้องจัดซื้อด้วยตนเอง จะซื้อหรือไม่ก็ได้ ไม่บังคับ

  • คำถามที่พบบ่อย ? (FAQ)

ค่าธรรมเนียมการสมัครและลงทะเบียนเรียน
สำหรับผู้สมัครเป็นนักศึกษาใหม่ – ส่วนกลาง

– ป.ตรี(ภาคปกติ) ไม่เกิน 3,750 บาท
– พรีดีกรี ไม่เกิน 3,100 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่ายทั้งหมด คลิกที่นี่

หมายเหตุ

  • อัตราค่าใช้จ่ายการสมัครเป็นนักศึกษาใหม่ ที่ปรากฎข้างต้นเป็นค่าใช้จ่ายสูงสุดแปรผลตามหน่วยกิตที่ลงทะเบียนเรียน หากลงทะเบียนเรียนวิชาน้อยค่าใช้จ่ายจะน้อยลงด้วย โดยค่าใช้จ่ายนี้ประกอบด้วย (1)ค่าบำรุงการศึกษา, (2)ค่าธรรมแรกเข้าเป็นนักศึกษา, (3)ค่าทำบัตรประจำตัวนักศึกษา, (4)ค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษา, (5)ค่าบริการสารสนเทศ, (6)ค่าหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน, (7)ค่าธรรมเนียมการสอบ(เฉพาะผู้สมัครส่วนภูมิภาค)
  • อัตราค่าใช้จ่ายการสมัครเป็นนักศึกษาใหม่ไม่รวม ค่าหนังสือ ชุดนักศึกษา ประกันภัย ฯลฯ ซึ่งนักศึกษาจะซื้อเพิ่มเติมหรือไม่ก็ได้
  • มหาวิทยาลัยรามคำแหง ไม่มีหอพักนักศึกษา(หอใน)ให้บริการ แต่มีโครงการ “หอพักติดดาว” เป็นความร่วมมือของมหาวิทยาลัยและผู้ให้บริการหอพักเอกชนโดยรอบ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมากและบางนา ประเมินคุณภาพหอพักเป็นระดับต่างๆ คลิกที่นี่
ใช่ เมื่อผู้สมัครทำการสมัครครบทุกขึ้นตอนแล้ว ก็จะมีสถานภาพการเป็นนักศึกษา ม.รามคำแหง เลย สามารถรอเปิดเทอมและเข้าเรียน(ถ้าต้องการ)ได้เลย

ขั้นตอนการสมัครแบบออนไลน์ แบบไม่เทียบโอนหน่วยกิต (เสร็จสิ้นภายใน 5-7 วันทำการ)
1. กรอกข้อมูลการสมัครในระบบรับสมัคร
2. เลือกวิชาลงทะเบียนเรียน
3. ชำระเงินค่าสมัครและค่าลงทะเบียนเรียน
4. อัพโหลดหลักฐานส่วนตัว, หลักฐานการศึกษา, หลักฐานการชำระเงินเข้าสู่ระบบ
5. รอการตรวจสอบจากมหาวิทยาลัย หากหลักฐานครบถ้วน มหาวิทยาลัยก็จะออกรหัสประจำตัวนักศึกษาและใบเสร็จชำระเงินให้ ซึ่งพอถึงตรงนี้ก็มีสถานภาพการเป็นนักศึกษาแล้ว รอเปิดเทอมเรียนได้เลย (เสร็จสิ้นทุกขั้นตอนภายใน 5-7 วันทำการ)

ขั้นตอนการสมัครแบบออนไลน์ แบบเทียบโอนหน่วยกิต (เสร็จสิ้นภายใน 7-14 วันทำการ)
1. กรอกข้อมูลการสมัครในระบบรับสมัคร
2. เลือกวิชาลงทะเบียนเรียน
3. อัพโหลดหลักฐานการศึกษาเข้าสู่ระบบ ให้จนท.ตรวจสอบวิชาการเทียบโอน
4. จนท.อนุมัติวิชาการลงทะเบียนเรียน
5. ชำระเงิน
6. รอการตรวจสอบจากมหาวิทยาลัยครั้งสุดท้าย หากหลักฐานครบถ้วน มหาวิทยาลัยก็จะออกรหัสประจำตัวนักศึกษาและใบเสร็จชำระเงินให้ ซึ่งพอถึงตรงนี้ก็มีสถานภาพการเป็นนักศึกษาแล้ว รอเปิดเทอมเรียนได้เลย

ขั้นตอนการสมัคร แบบเทียบโอน/ไม่เทียบโอน ที่มหาวิทยาลัย (เสร็จสิ้นภายในวันเดียว)
1. กรอกข้อมูลการสมัคร
2. ตรวจสอบหลักฐานการสมัคร
4. ออกรหัสประจำตัวนักศึกษา
5. ลงทะเบียนเรียน/เลือกวิชาเทียบโอนหน่วยกิต
6. ชำระเงิน มีสถานภาพการเป็นนักศึกษาทันที ใช้เวลาการสมัครทุกกระบวนการประมาณ 1 ชม. เสร็จสิ้นภายในวันที่สมัคร

การสมัครเข้าเรียนระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ไม่ต้องสอบคัดเลือก เมื่อดำเนินการสมัครเสร็จสิ้นทุกขั้นตอนแล้ว ผู้สมัครจะมีสถานภาพการเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • กรณีต้องการเข้าฟังบรรยายที่มหาวิทยาลัย
    ห้องบรรยายของนักศึกษาส่วนกลาง มีทั้งที่ ม.รามคำแหง หัวหมาก(รามฯ1) และ ม.รามคำแหง บางนา(รามฯ2) โดยม.รามคำแหง บางนา จัดให้เป็นห้องเรียนกลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป ดังนั้น นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จะมีโอกาสได้เรียนที่ ม.รามคำแหง บางนา เป็นส่วนใหญ่ หลังจากนั้นจะได้เรียนกลุ่มวิชาเอกที่ ม.รามคำแหง หัวหมาก
    นักศึกษาสามารถเดินทางมาฟังบรรยายที่มหาวิทยาลัยได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม และไม่จำเป็นต้องแสดงตนก่อนเข้าห้องเรียน โดยเวลาบรรยายของแต่ละวิชานั้นระบุอยู่ใน “ตาราง ม.ร.30” ประจำภาคเรียนนั้นๆ หากไม่ทราบว่าแต่ละวิชาเรียนวัน/เวลาอะไร เราขอแนะนำให้อ่านบทความ วิธีทำตารางเรียนสำหรับนักศึกษาใหม่
  • กรณีใช้สื่อการเรียนด้วยตนเอง
    มหาวิทยาลัยมีสื่อการเรียนให้นักศึกษาเลือกใช้ ดังนี้
    Cyber Classroom ถ่ายทอดสดจากห้องเรียน(ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม)
    Course on-demand วิดีโอการบรรยายย้อนหลัง(ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม)
    – หนังสือตำราเรียน จากสำนักพิมพ์ ม.รามคำแหง ซื้อมาศึกษาด้วยตนเอง(จัดซื้อเพิ่มเติมด้วยตนเอง)
เมื่อถึงเวลาสอบไล่ปลายภาคเรียน นักศึกษาจะต้องเข้าสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 1 ครั้ง โดยมีการกำหนดวันสอบไล่แจ้งให้ทราบจากปฏิทินการศึกษา

สนามสอบที่นักศึกษาส่วนกลางมีสิทธิ์เข้าสอบคือ
(1) ม.รามคำแหง หัวหมาก (รามฯ 1)
(2) ม.รามคำแหง วิทยาเขตบางนา (รามฯ 2)
โดยมหาวิทยาลัยจะกำหนดห้องสอบให้นักศึกษาเอง โดยจะประกาศห้องสอบที่นักศึกษาต้องเข้าสอบให้ทราบก่อนถึงวันสอบไล่วันแรก 1 สัปดาห์

นักศึกษาส่วนกลาง (ภาคปกติและพรีดีกรี)

ค่าใช้จ่ายที่จะต้องชำระในการลงทะเบียนเรียน ประกอบด้วย
(1) ค่าบำรุงการศึกษา นศ.ภาคปกติ 800 บาท / พรีดีกรี 500 บาท
(2) ค่าบริการสารสนเทศ 100 บาท
(3) ค่าหน่วยกิต ภาคปกติ หน่วยละ 25 บาท / พรีดีกรี หน่วยละ 50 บาท
ถ้าลงทะเบียนเรียนหลายวิชา ก็จะมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นตามไปด้วย
สรุป ภาคเรียนต่อ ๆ ไป จะมีค่าใชัจ่าย 1,125 – 1,450 บาท สำหรับภาคปกติ และ ค่าใช้จ่าย 1,050-1,700 บาท สำหรับพรีดีกรี

นักศึกษาส่วนภูมิภาค (ภาคปกติและพรีดีกรี)

ค่าใช้จ่ายที่จะต้องชำระในการลงทะเบียนเรียน ประกอบด้วย
(1) ค่าบำรุงการศึกษา 600 บาท / พรีดีกรี 300 บาท
(2) ค่าบริการสารสนเทศ 100 บาท
(3) ค่าหน่วยกิต หน่วยละ 50 บาท ทั้งภาคปกติและพรีดีกรี
(4) ค่าธรรมการสอบ วิชาละ 60 บาท
ถ้าลงทะเบียนเรียนหลายวิชา ก็จะมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นตามไปด้วย
สรุป ภาคเรียนต่อ ๆ ไป จะมีค่าใชัจ่าย 1,330-2,700 บาท สำหรับภาคปกติ และ ค่าใช้จ่าย 1,030-2,320 บาท สำหรับพรีดีกรี

ระยะเวลาของหลักสูตร ท่านสามารถตรวจสอบระยะเวลาของหลักสูตรได้จาก “ระเบียบการรับสมัครฯ” จะมีการระบุข้อความว่า “Total for ….. years” (ดังตัวอย่างภาพด้านบนนี้) ซึ่งจะระบุอย่างชัดเจนในทุกคณะ/สาขาวิชา หมายความ ว่าท่านสามารถจบการศึกษาได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ หากมีการสอบสะสมหน่วยกิตได้ตามแผนการเรียนที่แนะนำเอาไว้ จริงๆแล้ว ต้องเรียนกี่ปี ? จริงๆแล้วนักศึกษาสามารถใช้เวลาเรียนให้จบการศึกษาเร็วกว่าหรือช้ากว่าที่กำหนดก็ได้ โดยนักศึกษามีสิทธิลงทะเบียนเรียนอย่างต่อเนื่องได้ถึง 8 ปีการศึกษา(สำหรับหลักสูตร 4 ปี) หรือลงทะเบียนเรียนอย่างต่อเนื่องได้สูงสุด 10 ปีการศึกษา(สำหรับหลักสูตร 5 ปี) คำว่า “อย่างต่อเนื่อง” หมายถึงมีการลงทะเบียนเรียนติดต่อกันเพื่อคงสถานภาพการเป็นนักศึกษาไว้ ไม่ให้ขาดสถานภาพจนกว่าจะเรียนจบจริงๆ จบเร็วที่สุดกี่ปี ? กรณีตัวอย่าง หลักสูตรของสาขาวิชานิติศาสตร์ กำหนดให้ต้องสอบสะสม 140 หน่วยกิต สามารถสอบสะสมได้เร็วที่สุดภายใน 2 ปีครึ่ง – 3ปี เพราะมหาวิทยาลัยรามคำแหง เปิดให้ลงทะเบียนเรียนและสอบสะสมหน่วยกิตได้สูงสุด ปีการศึกษาละ 51 หน่วยกิต (3 ปี = 51+51+ที่เหลือ = 140 หน่วยกิต) โดยสามารถแจกแจงจำนวนหน่วยกิตที่ลงทะเบียนเรียนต่อ 1 ปีการศึกษา ดังนี้
1 ปีการศึกษา ประกอบด้วย 3 ภาคเรียน คือ
  • ภาคเรียนที่ 1 สะสมได้สูงสุด 21 หน่วยกิต
  • ภาคเรียนที่ 2 สะสมได้สูงสุด 21 หน่วยกิต
  • ภาคฤดูร้อน สะสมได้สูงสุด 9 หน่วยกิต
    รวม 21+21+9 = 51 หน่วยกิต/ปีการศึกษา
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะทำได้ …..เพราะการสอบเพื่อสะสมได้สูงสุดเต็มจำนวนในทุก ๆ ภาคเรียนนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้องค์ประกอบหลายอย่าง ตั้งแต่การวางแผนการลงทะเบียนและเลือกวิชาที่ดีมีความเหมาะสม(นักศึกษารามคำแหง ต้องเลือกวิชาเรียนด้วยตนเองทุกภาคเรียน), การวางแผนการสอบก็สำคัญมาก, วันสอบของวิชานั้น ๆ อาจเป็นวันที่เราไม่สะดวกจนไม่ได้ไปสอบ, เราอาจสอบตก, หรือแม้แต่ลืมลงทะเบียนสอบซ่อม และเหตุผลร้อยแปด ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้ระยะเวลาการเรียนเพิ่มขึ้น หรือบางคนท้อใจจนหยุดเรียนไป นี่จึงอาจเป็นเหตุผลทของวลีที่ว่า “เรียนรามฯ เข้าง่าย ออกยาก”

…แต่ถ้าคุณอ่านมาถึงตรงนี้ เราคิดว่าคุณทำได้แน่นอน น้อยคนนักที่จะอ่านมาถึงตรงนี้ เราเชื่อว่าคุณมีศักยภาพด้านการอ่าน การวางแผน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เราขออวยพรให้คุณประสบความสำเร็จทางการเรียน และจบได้เร็วเท่าที่ตั้งใจไว้…

สมัครเสร็จแล้ว ตารางเรียนทำยังไง ?

หลักจากที่ทำการสมัครเป็นนักศึกษาใหม่เรียบร้อยแล้ว นักศึกษาใหม่ทุกท่านสามารถจัดทำ “ตารางเรียน” ส่วนบุคคลเอาไว้ใช้ประกอบหากต้องการมาเรียนที่มหาวิทยาลัย และตารางเรียนที่จะแนะนำวิธีการทำนี้ จะมีรายละเอียดการสอบ/วันสอบไล่ปลายภาคของเราอยู่ด้วย

อ่านวิธีการทำตารางเรียนของตัวเองได้ที่นี่ >> คลิก <<

ค่าใช้จ่ายที่ชำระในการสมัคร ไม่รวมค่าหนังสือ/ตำราเรียน ดังนั้นหากนักศึกษาต้องการ จะต้องดำเนินการจัดซื้อด้วยตนเอง

ราคาหนังสือ

ตรวจสอบราคาหนังสือ/ตำราเรียนของมหาวิสามารถตรวจสอบราคาหนังสือแต่ละเล่มได้ที่เว็บไซต์ของสำนักพิมพ์ ม.ร. http://www.rupress.ru.ac.th/bookstore/ และทำการค้นหาชื่อหนังสือตามรหัสวิชาตามที่ต้องการ

ช่องทางการสั่งซื้อหนังสือ
  • สั่งออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ http://www.rupress.ru.ac.th/bookstore/ 
    (ใช้เวลาการจัดส่งประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรือนานกว่านั้น)
  • ซื้อด้วยตนเองได้ที่ ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง อาคารสำนักพิมพ์ ชั้น 3 ม.รามคำแหง หัวหมาก(รามฯ 1)
    เปิดบริการในวัน จันทร์-ศุกร์ 9.00-15.30 น. และบางเสาร์-อาทิตย์ 9.00-15.00 น.
    ดูวันเปิดจำหน่ายของศูนย์หนังสือ คลิก
คลิกที่นี่เพื่อดูภาพใหญ่
  • เสื้อ/กระโปรง/กางเกง สามารถเลือกซื้อสถานที่ใดก็ได้ตามความสะดวก
  • ตุ้งติ้ง/เข็มกลัดพ่อขุน/เข็มขัดตรามหาวิทยาลัย มีจำหน่ายที่สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง และช่องทางออนไลน์ของสำนักพิมพ์ หรือเลือกซื้อที่ใดก็ได้ตามความสะดวก
  • คำแนะนำของรอบรั้วรามฯ : นักศึกษาสามารถปรับการแต่งกายตามสไตล์ของตัวเองได้ แต่ควรอยู่บนพื้นฐานความเรียบร้อยเหมาะสมกับเวลาและสถานที่น้าาา