ช่องทาง และกำหนดวันรับสมัครนักศึกษาใหม่ พรีดีกรี
มหาวิทยาลัยเปิดรับสมัคร ระดับปริญญาตรี(ภาคปกติ)และพรีดีกรีพร้อมกัน ส่วนกลางเปิดรับสมัครปีการศึกษาละ 2 ครั้ง คือ ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 | ส่วนภูมิภาค เปิดรับสมัครเฉพาะภาคเรียนที่ 1 เท่านั้น (แต่จะสมัครส่วนไหนดี ? คิดไม่ออก คลิกตรงนี้) โดยผู้สนใจสมัครเรียนที่มีวุฒิจบการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยชมศึกษาปีที่ 3 เรียบร้อยแล้ว(และกำลังศึกษาชั้นมัธยมปลาย หรือเทียบเท่า) สามารถสมัครเป็นนักศึกษาภาคเรียนใดก็ได้ ช่องทางใดก็ได้ ตามวันเวลาที่กำหนด และความสะดวกดังต่อไปนี้สมัครผ่านระบบออนไลน์
รับสมัคร ภาค 1/2568 ช่วงเดือน พฤษภาคม – มิถุนายน 2568สมัครด้วยตนเองที่มหาวิทยาลัย ง่ายที่สุด!
รับสมัคร ภาค 1/2568 ช่วงเดือน พฤษภาคม – มิถุนายน 2568สมัครผ่านไปรษณีย์
รับสมัคร ภาค 1/2568 ช่วงเดือน พฤษภาคม – มิถุนายน 2568การรับสมัครนักศึกษาใหม่ ระดับปริญญาตรี(ภาคปกติ) และพรีดีกรี ในครั้งนี้ ไม่มีการจำหน่ายใบสมัคร ผู้สมัครด้วยตนเองที่มหาวิทยาลัยรับใบสมัครได้ที่จุดรับสมัคร, ผู้สมัครผ่านระบบออนไลน์ กรอกใบสมัครในระบบ ระเบียบการรับสมัครฯ การรับสมัครนักศึกษาใหม่ ระดับปริญญาตรี(ภาคปกติ) และพรีดีกรี ในครั้งนี้ ไม่มีการจำหน่ายระเบียบการรับสมัคร โดยผู้สมัครสามารถดาวน์โหลดระเบียบการรับสมัครฯ ซึ่งมีรายละเอียดต่าง ๆ ประกอบด้วย คุณสมบัติผู้สมัคร, หลักฐานการสมัคร, อัตราค่าใช้จ่าย, สาขาวิชาที่เปิดรับสมัคร, เกณฑ์การเทียบโอนหน่วยกิต และข้อมูลสำคัญอื่น ๆ กดลิงก์ต่อไปนี้เพื่อดาวน์โหลด
ส่วนกลาง | ส่วนภูมิภาค |
ที่ตั้ง: มหาวิทยาลัยรามคำแหง มี 2 วิทยาเขตภายในกรุงเทพฯ คือ หัวหมาก(วิทยาเขตหลัก) และบางนา | ที่ตั้ง: จัดตั้งศูนย์บริการนักศึกษาในจังหวัดต่างๆเรียกว่า “สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัด…” มีทั้งสิ้น 23 แห่ง มีที่ไหนบ้างคลิก |
สาขาวิชาที่รับสมัคร: มีสาขาวิชาให้เลือกสมัครกว่า 50+ สาขาวิชา | สาขาวิชาที่รับสมัคร: เลือกสมัครได้ 4 สาขาวิชา คือ สาขานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์, การจัดการ คณะบริหารธุรกิจ, การบริหารรัฐกิจ คณะรัฐศาสตร์, นิเทศศาสตร์และสื่อดิจิทัล คณะสื่อสารมวลชน |
ค่าหน่วยกิต: 50 บาท/หน่วยกิต | ค่าหน่วยกิต: 50 บาท/หน่วยกิต |
สถานที่เรียน: บรรยายสดที่ห้องเรียน รามฯ1 และ รามฯ2 และวิดีโอออนไลน์กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป | สถานที่เรียน: เทปบรรยายที่ห้องเรียนสาขาวิทยบริการฯ และวิดีโอออนไลน์สดและย้อนหลังทุกวิชา |
สถานที่สอบ: สอบที่กรุงเทพฯ ม.รามคำแหง หัวหมาก(รามฯ1) และ บางนา(รามฯ2) เท่านั้น | สถานที่สอบ: สอบที่สาขาวิทยบริการฯ และศูนย์สอบ จำนวน 40+ แห่งทั่วประเทศ เลือกสอบที่ไหนก็ได้(ยกเว้นกรุงเทพฯ) มีที่ไหนบ้างคลิก |
ปกติแล้ว…ชีวิตเด็กมหาลัยเริ่มต้นอายุเท่าไหร่ ?
หลายๆคนคงจะเริ่มนับ 1 ในชีวิตมหาวิทยาลัยเมื่อจบ ม.6 ตอนที่อายุ 18-19 ปี มันคือการเปลี่ยนระบบการเรียนจากโรงเรียน/วิทยาลัยให้ก้าวเข้าสู่ระบบมหาวิทยาลัย ที่ต้องใช้ความรับผิดชอบมากขึ้นไปอีก แต่จะดีกว่าไหมถ้าจะก้าวเข้าสู่ระบบการเรียนแบบมหาวิทยาลัยควบคู่ขณะกำลังเรียนชั้น ม.4/ปวช.จะดีไหม…ถ้าก้าวสู่มหาวิทยาลัยตั้งแต่ตอนนี้
เริ่มนับ 1 ในชีวิตมหาวิทยาลัยตั้งแต่อายุ 16 ด้วยระบบพรีดีกรี กับการเรียนควบคู่ชั้นม.ปลาย(หรือเทียบเท่า)ไปพร้อมกับการสอบสะสมหน่วยกิตของมหาวิทยาลัยรามคำแหง เริ่มต้นก่อนก็ถึงเส้นชัยก่อนพรีดีกรี คืออะไร ?
พรีดีกรี เป็นระบบการเรียนเพื่อสอบสะสมหน่วยกิตในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยรามคำแหงแบบล่วงหน้า เปิดให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นแล้ว(จบ ม.3 แล้ว) สามารถสมัครเรียนสะสมหน่วยกิตของแผนการเรียนระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาที่สนใจจะเรียนต่อในระดับปริญญาตรีในอนาคต หากสอบสะสมหน่วยกิตได้มากน้อยเพียงใด ก็ช่วยลดระยะเวลาการเรียนระดับปริญญาตรีในอนาคตได้ เพราะได้สอบสะสมหน่วยกิตล่วงหน้าไว้แล้วรูปแบบการเรียน
รูปแบบการเรียนระบบพรีดีกรีเหมือนกับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ของมหาวิทยาลัยรามคำแหงทุกประการ เช่น ระบบปฏิทินการศึกษา, สื่อการเรียน, ข้อสอบ, เกณฑ์การวัดผล ซึ่งจะช่วยในการพัฒนาศักยภาพของนักเรียน รู้จักการวางแผนการเรียนและการบริหารเวลาของตนเองอีกด้วยนักศึกษาพรีดีกรีมักอ่านหนังสือ ทำความเข้าใจบทเรียนด้วยเอง ไม่จำเป็นต้องเข้าฟังบรรยายที่มหาวิทยาลัย และยังมีสิทธิ์เข้าสอบไล่ปลายภาคที่มหาวิทยาลัยตามปกติ
พรีดีกรี เหมาะกับใคร ?
พรีดีกรี เหมาะอย่างยิ่งสำหรับนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ชั้น ม.ปลาย(หรือเทียบเท่า) ได้แก่ นักเรียน ม.ปลาย สายสามัญ, นักศึกษาระบบ กศน. ม.ปลาย, รวมไปถึงนักศึกษา ปวช.-ปวส. และมีความสนใจที่จะเรียนระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง เช่น นักเรียนชั้น ม.4 เมื่อสมัครเรียนพรีดีกรีแล้ว มีโอกาสในการสะสมหน่วยกิตได้ยาวนานถึง 3 ปีจนกว่าจะจบชั้น ม.6 เมื่อมีเวลามากก็มีโอกาสสะสมหน่วยกิตได้มากตามไปด้วยทำไมต้องเรียน ม.ปลาย(หรือเทียบเท่า) ควบคู่กับพรีดีกรี
ผู้ที่มีสถานะเป็นนักศึกษาพรีดีกรี ไม่สามารถแจ้งจบการศึกษาเพื่อเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรได้ โดยผู้ที่มีสิทธิ์แจ้งจบการศึกษาและรับปริญญาบัตรได้คือผู้ที่มีสถานะเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ดังนั้น นักศึกษาพรีดีกรีจะต้องเลื่อนสถานะตนเองให้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีเมื่อเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย(หรือเทียบเท่า) หากไม่เรียนชั้น ม.ปลาย(หรือเทียบเท่า)ก็จะไม่มีสิทธิ์เลื่อนสถานะเป็นระดับปริญญาตรีเพื่อเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรพรีดีกรี คือ ช่วงเวลาค้นหาตัวเอง
“…ปีแรกๆชอบรัฐศาสตร์ ปีหน้าอาจจะเปลี่ยนใจชอบสื่อสารมวลชนขึ้นมาก็ได้นี่นา…”
การเรียนที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง เปิดโอหาสให้ทุกคนได้มีเวลาค้นหาตัวเอง โดยเฉพาะเรื่องการเรียน และนักศึกษาพรีดีกรีเป็น “นักศึกษาพรีดีกรี” ไม่ใช่นักศึกษาของคณะใดคณะหนึ่ง แต่ตอนสมัครเรียนเขาจะให้เราเลือกคณะไปแล้วนี่นา? ใช่แล้ว การที่มหาวิทยาลัยให้เราเลือกคณะตั้งแต่ตอนที่สมัคร ก็เพราะมหาวิทยาลัยจะได้เลือกวิชาในคณะที่เราสนใจมาให้เราเรียนและสอบในภาคเรียนนี้ มันเป็นการอำนวยความสะดวกให้ตอนสมัครครั้งแรกเท่านั้นแต่ถ้าเรียนไปแล้วเกิดเปลี่ยนใจขึ้นมาล่ะ ? ก็อย่างที่บอกว่า “พรีดีกรีไม่สังกัดคณะใดๆ” ถ้าเรียนอยู่ดี ๆ เราไม่ชอบรัฐศาสตร์แล้ว แต่หันไปชอบสื่อสารมวลชนแทน เราก็เปลี่ยนไปหยิบวิชาของคณะสื่อสารมวลชนมาสอบสะสมต่อได้เลย ไม่ต้องแจ้งใคร ไม่ต้องแจ้งมหาวิทยาลัย แค่นี้เอง “…ปีแรกๆชอบรัฐศาสตร์ ปีหน้าอาจจะเปลี่ยนใจชอบสื่อสารมวลชนขึ้นมาก็ได้นี่นา…”
เรียนพรีดีกรี จะได้รับปริญญาไหม ?
อย่างที่บอกไปตอนต้นว่า นักศึกษาระบบพรีดีกรีไม่สามารถแจ้งจบการศึกษาเพื่อเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรได้ จนกว่าจะเลื่อนสถานะจากพรีดีกรีให้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีเสียก่อน ซึ่งหน่วยกิตที่ได้สะสมไว้ จะทำให้เราได้รับปริญญาไวกว่าเพื่อน ๆเมื่อผู้สมัครมีสถานะการเป็นนักศึกษาแล้ว สามารถเข้าฟังบรรยายที่ห้องเรียน และใช้สื่อการถ่ายทอดสดและวิดีโอย้อนหลังได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม เนื่องจากค่าสมัครและลงทะเบียนเรียนครอบคลุมสิทธิ์การใช้งานแล้ว ยกเว้น สื่อประเภท หนังสือเรียน/ตำราเรียน และวิดีโอบรรยายสรุปการสอนจากสำนักเทคโนโลยีการศึกษา นักศึกษาต้องจัดซื้อด้วยตนเอง จะซื้อหรือไม่ก็ได้ ไม่บังคับ
เริ่มก่อน = สะสมได้มากกว่า
การเรียนระบบพรีดีกรีเหมือนเป็นการออมเงิน ถ้าออมเงินตั้งแต่ทุกๆเดือนต้ังแต่มกราคม เงินสะสมก็คงมากกว่าคนที่เริ่มออมเงินเดือนตุลาคมแน่นอน ก็เหมือนกับการสะสมหน่วยกิตของระบบพรีดีกรี เช่น ถ้าสมัครเรียนพรีดีกรีขณะที่กำลังเรียนชั้นอยู่ ม.4 หรือ ปวช.1 ก็จะมีระยะเวลาสะสมหน่วยกิตยาวถึง 3 จนกว่าจะเลื่อนสถานะจบชั้น ม.6 หรือ ปวช.3 , แต่ก็ไม่ใช่ว่าคนที่กำลังเรียน ม.5-6 หรือ ปวช.2-3 จะสมัครไม่ได้นะ คุณสามารถสมัครพรีดีกรีได้ แต่ระยะเวลาสะสมหน่วยกิจอาจน้อยกว่าคนที่เริ่มต้นก่อนเท่านั้นเองค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นเมื่อเรียนระบบพรีดีกรี
ส่วนกลาง : ไม่เกิน 3,100 บาท
ส่วนภูมิภาค : ไม่เกิน 4,080 บาท
(รายละเอียดแบบแจกแจงค่าใช้จ่าย: คลิก)
2. ค่าลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนต่อ ๆ ไป
ค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเรียนเทอมต่อๆไป ประกอบด้วย ค่าหน่วยกิต หน่วยละ 50 บาท, ค่าบำรุงการศึกษา, ค่าบริการสารสนเทศ, ค่าธรรมเนียมการสอบ(เฉพาะส่วนภูมิภาค) รวมแล้วประมาณค่าใช้จ่ายได้ดังนี้
ส่วนกลาง : สูงสุดไม่เกิน 1,700 บาท
ส่วนภูมิภาค : สูงสุดไม่เกิน 2,200 บาท
*อัตราค่าใช้จ่ายการลงทะเบียนเรียนขึ้นอยู่กับจำนวนหน่วยกิตที่ลงทะเบียนเรียน หากลงทะเบียนหน่วยกิตในภาคเรียนนั้นๆมาก ค่าใช้จ่ายจะมากตามไปด้วย ซึ่งมหาวิทยาลัยกำหนดให้ลงทะเบียนเรียน อย่างน้อย 9 หน่วยกิต/ภาคเรียน เท่านั้น แต่นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนได้สูงสุดถึง 21 หน่วยกิต
1. ค่าใช้จ่ายการสมัครเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีและลงทะเบียนเรียนภาคเรียนแรก(ต้องชำระในวันสมัครทันที)
ส่วนกลาง : ไม่เกิน 3,750 บาท
ส่วนภูมิภาค : ไม่เกิน 4,730 บาท
2. ค่าเทียบโอนหน่วยกิตจากระบบพรีดีกรีเข้าสู่ระบบปริญญาตรี(ชำระภายหลังได้)
คิดอัตราค่าเทียบโอนหน่วยกิตละ 50 บาท เช่น หากสะสมระหว่างเรียนพรีดีกรีได้ 60 หน่วยกิต จะเป็นเงินค่าเทียบโอน 60×50= 3,000 บาท
‘พรีดีกรี’ ทางด่วนไปสู่ความสำเร็จ
อดีตนักศึกษาระบบพรีดีกรี ที่สมัครเรียนและสะสมหน่วยกิตล่วงหน้า
และจบปริญญาตรีตั้งแต่อายุยังน้อย
สิรพิชญ์ สินมา (พิงค์)
สะสมหน่วยกิตระบบพรีดีกรี และเทียบโอนเป็นนักศึกษาภาคปกติ และจบปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ เมื่ออายุอายุ 18 ปี, เนติบัณฑิตยสภา เมื่ออายุ 19 ปี, จบปริญญาโท 2 ใบ จาก University of San Diego และ California Western School of Law สหรัฐอเมริกา เมื่ออายุ 21 ปี, ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา
ประวีณ์ธิดา จารุนิล
เรียนพรีดีกรีตั้งแต่ ม.4 สะสมหน่วยกิตได้ 128 หน่วยกิต เทียบโอนเป็นนักศึกษาภาคปกติและเรียนต่ออีก 1 เทอมก็จบปริญญาตรีเมื่ออายุ 18 ปี และเรียนต่อปริญญาโทสาขากฎหมายมหาชน ม.รามคำแหง และจบการศึกษาเมื่ออายุ 21 ปี
พันจ่าอากาศโท
ดร.สุวินท์ รักสลาม
เรียนพรีดีกรีในระหว่างเรียนที่โรงเรียนจ่าอากาศ และเทียบโอนเป็นนักศึกษาภาคปกติ และจบปริญญาตรี เมื่ออายุ 18 ปี, ต่อปริญญาโท(บริหารรัฐกิจ) ม.รามคำแหง ขณะอายุ 20 ปี และจบปริญญาดุษฎีบัณฑิต(การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ม.รามคำแหง) เมื่อปี 2556 เป็น ดร. อายุ 23 ปี
อัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์ (ทับทิม)
นักแสดงจากช่อง 7 สะสมหน่วยกิตระบบพรีดีกรีตอนอยู่ชั้น ม.4 และเรียนต่อปริญญาตรีภาคปกติจนจบ ปัจจุบันทับทิมยังจบปริญญาโท ม.รามคำแหง อีกด้วย
ร.ต.อ.ทศพร รุ่งเรืองศุภรัตน์
สะสมหน่วยกิตระบบพรีดีกรี เทียบโอนเป็นนักศึกษาภาคปกติและจบปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ ในวัย 19 ปี, เนติบัณฑิตยสภา เมื่ออายุ 20 ปี ปัจจุบันรับราชการตำรวจ
ภาณุวุฒิ วงศ์จีน
อดีตนักศึกษาพรีดีกรี สาขาวิทยบริการฯ จ.เชียงราย สมัครเรียนพรีดีกรีตั้งแต่ชั้น ม.4 (โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม) สะสมหน่วยกิตได้ 136 หน่วยกิต และเทียบโอนเป็นนักศึกษาภาคปกติเรียนต่อเพียง 1 เทอม ก็จบปริญญาตรี เมื่ออายุ 18 ปี