FAQ
คำถามที่พบบ่อย
การลงทะเบียนเรียน
มหาวิทยาลัยได้จัดทำ “ปฏิทินการศึกษา”
ที่เป็นตารางกำหนดวันสำคัญต่างๆ ทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค เพื่อให้นักศึกษาใช้วางแผนการศึกษาได้ตลอดทั้งภาคการศึกษา โดยกำหนดการดังกล่าวประกอบด้วย
- วันเริ่มบรรยาย(เปิดเทอม)
- วันลงทะเบียน (ออนไลน์, ไปรษณีย์, ด้วยตนเอง)
- วันลงทะเบียนสอบซ่อม
- วันสอบระบบ e-Testing
- วันบอกเลิก-บอกเพิ่มกระบวนวิชา
- วันสอบซ่อม
- วันสอบไล่
ดูปฏิทินการศึกษา ผ่านเว็บไซต์ของรอบรั้วรามฯ คลิกที่นี่
นอกจากนี้ นักศึกษาดาวน์โหลดปฏิทินการศึกษาประจำภาคการศึกษานั้นๆ ได้จากเว็บไซต์ สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล หรือ เว็บไซต์มหาวิทยาลัย ดังนี้
สวป. http://www.regis.ru.ac.th
รอบรั้วรามฯ https://www.aroundram.com/yearplan/
ช่องทางการลงทะเบียนเรียน
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเปิดช่องทางการรับลงทะเบียนเรียนในทุกภาคการศึกษาปกติ และการลงทะเบียนสอบซ่อม คือ
- เว็บไซต์ www.iregis2.ru.ac.th
- แอปพลิเคชั่น RU-Regis (ส่วนกลาง) และ RU-Region (ส่วนภูมิภาค)
- ไปรษณีย์
ลงทะเบียนเรียนที่มหาวิทยาลัย(งดการลงทะเบียนที่มหาวิทยาลัยเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19)
โดยแต่ละช่องทางมีกำหนดการเปิดระบบรับลงทะเบียนเรียนแตกต่างกัน ขอให้นักศึกษาตรวจสอบกำหนดวันลงทะเบียนเรียน/ลงทะเบียนสอบซ่อม ตามกำหนดการในปฏิทินการศึกษา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น RU-Regis (ส่วนกลาง)
ระบบปฏิบัติการ iOS
ระบบปฏิบัติการ Android
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น RU-Region (ส่วนภูมิภาค)
การพิมพ์ใบเสร็จรับเงินลงทะเบียนเรียน
นักศึกษาสามารถปริ้นท์(Print) ใบเสร็จรับเงินลงทะเบียนเรียน ทั้งฉบับจริง และฉบับสำเนาได้ด้วยตัวเองโดยไม่มีค่าใช้จ่าย จากระบบ e-Service ที่ https://beta-e-service.ru.ac.th/
หมายเหตุ
- ใบเสร็จฯฉบับจริง ที่ปริ้นท์จากระบบ e-Service กดปริ้นท์ได้ 1 ครั้งเท่านั้น
- ใบเสร็จฯฉบับสำเนา กดปริ้นท์จากระบบ e-Service ได้ไม่เกิน 100 ครั้ง
- หากไม่มีความจำเป็นต้องใช้ใบเสร็จฯฉบับจริง ไม่ต้องปริ้นท์ออกมา
- เมื่อลงทะเบียนเรียนเสร็จแล้ว จะยังไม่สามารถปริ้นท์ใบเสร็จลงทะเบียนเรียนออกมาได้ในทันที โดยมหาวิทยาลัยจะประกาศกำหนดวันที่สามารถเริ่มพิมพ์ใบเสร็จลงทะเบียนเรียนภายหลัง
การขอสำเนาใบเสร็จรับเงินลงทะเบียนเรียนที่มหาวิทยาลัย
ขอได้ที่ One Stop Service อาคารกงไกรลาศ(KLB) ชั้น 1 ม.รามฯ 1 หัวหมาก
เวลา 08.30-16.00 น. เปิดบริการวันจันทร์-ศุกร์ และวันหยุดที่มีการสอบ (ปิดบริการวันหยุดราชการ)
หมายเหตุ
- การขอสำเนาใบเสร็จฯที่มหาวิทยาลัย มีค่าบริการฉบับละ 10 บาท
- การขอสำเนาใบเสร็จฯที่มหาวิทยาลัย จะได้รับใบเสร็จฉบับสำเนาเท่านั้น (หากต้องการฉบับจริง ให้ปริ้นท์เองผ่านระบบ e-Service)
ลงทะเบียนผิด แก้ไขโดยการ “บอกเลิก-บอกเพิ่ม”
หากนักศึกษาลงทะเบียนเรียนผิดพลาด สามารถทำการแก้ไขการลงทะเบียนเรียนได้ 1 ครั้ง โดยมหาวิทยาลัยจะกำหนดวันที่เปิดระบบให้ทำการ “บอกเลิก-บอกเพิ่มกระบวนวิชา” (ดูกำหนดการได้จากปฏิทินการศึกษา) โดยสามารถทำการสับเปลี่ยนกระบวนวิชาโดยมีหน่วยกิตเท่าเดิม หรือลงทะเบียนเรียนเพิ่มเติม(หน่วยกิตเพิ่มขึ้น)และชำระเงินค่าหน่วยกิตที่เพิ่มขึ้นด้วย
กรณีที่สามารถทำการบอกเลิก-บอกเพิ่มได้
- เดิมลงทะเบียนเรียนแล้ว 9 หน่วยกิต ประกอบด้วยวิชา A, B และ C วิชาละ 3 หน่วยกิต แต่ต้องการถอนวิชา C ออกไป(บอกเลิก) และสลับวิชา D เข้ามาแทน(บอกเพิ่ม) โดยคำนวณหน่วยกิตสุดท้ายแล้วเท่าคงเหลือเท่าเดิมคือ 9 หน่วยกิต
- เดิมลงทะเบียนเรียนแล้ว 9 หน่วยกิต ประกอบด้วยวิชา A, B และ C วิชาละ 3 หน่วยกิต แต่ต้องการลงทะเบียนวิชา D เพิ่มเข้าไปอีก 3 หน่วยกิต โดยคำนวณหน่วยกิตสุดท้ายแล้วเป็น 12 หน่วยกิต (ชำระค่าหน่วยกิตเพิ่ม 3 หน่วยกิต)
กรณีที่สามารถทำการบอกเลิก-บอกเพิ่มไม่ได้
- เดิมลงทะเบียนเรียนแล้ว 9 หน่วยกิต ประกอบด้วยวิชา A, B และ C วิชาละ 3 หน่วยกิต แต่ต้องการถอนวิชา C ออกไปเฉยๆ(บอกเลิก) โดยไม่มีวิชาอื่นใดมาแทน
ช่องทางการบอกเลิก-บอกเพิ่มกระบวนวิชา
- ดำเนินการผ่านระบบ e-Service ที่ https://beta-e-service.ru.ac.th/ โดยทำตามขั้นตอน และรอเจ้าหน้าที่อนุมัติการขอแก้ไขวิชา อย่าลืมดูปฏิทินการศึกษาก่อนว่าเปิดให้บอกเลิก-เพิ่มเมื่อไหร่
สูตรคำนวณค่าใช้จ่ายการลงทะเบียนเรียน
นักศึกษาภาคปกติ (ส่วนกลาง) รหัส 60 เป็นต้นไป
ภาค 1-2
ภาคฤดูร้อน
ลงทะเบียนสอบซ่อม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สวป. (http://www.iregis2.ru.ac.th/regiscenter/fee.jsp)
สูตรคำนวณค่าใช้จ่ายการลงทะเบียนเรียน
นักศึกษาพรีดีกรี (ส่วนกลาง) รหัส 60 เป็นต้นไป
ภาค 1-2
ภาคฤดูร้อน
ลงทะเบียนสอบซ่อม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สวป. (http://www.iregis2.ru.ac.th/regiscenter/fee.jsp)
สูตรคำนวณค่าใช้จ่ายการลงทะเบียนเรียน
*ค่าใช้จ่ายที่ปรากฎในตาราง ยังไม่รวมค่าธรรมเนียมการสอบ วิชาละ 60 บาท*
นักศึกษาภาคปกติ (ส่วนภูมิภาค) รหัส 60 เป็นต้นไป
นักศึกษาพรีดีกรี (ส่วนภูมิภาค) รหัส 60 เป็นต้นไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สวป. (http://www.iregis2.ru.ac.th/regiscenter/fee.jsp)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สวป. (http://www.iregis2.ru.ac.th/regiscenter/fee.jsp)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สวป. (http://www.iregis2.ru.ac.th/regiscenter/fee.jsp)
ไม่ได้ลงทะเบียนเรียน ทำอย่างไร ?
หากนักศึกษาไม่ได้ลงทะเบียนเรียนเกิน 2 ภาคปกติ(ภาค 1-2) ไม่นับภาคฤดูร้อน จะทำให้ขาดสถานภาพการเป็นนักศึกษาอัตโนมัติ
ดังนั้น
- หากขาดการลงทะเบียนเรียนเทอมนี้เพียงเทอมเดียว ให้รอลงทะเบียนเรียนเทอมต่อไปได้เลย นักศึกษายังมีสิทธิ์ลงทะเบียนเรียนเทอมต่อไปได้อยู่ โดยค่าบำรุงการศึกษาในเทอมที่ไม่ได้ลงทะเบียน จะถูกบวกรวมเข้ากับค่าลงทะเบียนเทอมหน้าอัตโนมัติ
- หากขาดการลงทะเบียนเรียนเทอม 1-2 ครบ 2 ภาคปกติแล้ว ให้รอลงทะเบียนเรียนเทอมต่อไป มิเช่นนั้นจะขาดสถานภาพการเป็นนักศึกษา (หาดขาดสถานภาพการเป็นนักศึกษาแล้ว จะต้องสมัครเรียนใหม่)
- สมมติ(1) ลงทะเบียนเรียนครั้งล่าสุดคือ ภาค 1/60 แล้วขาดลงทะเบียนเรียนภาค 2/60 และ ภาคฤดูร้อน/60 และ ภาค 1/61 รวมได้ 2 ภาคปกติ(นับเฉพาะภาค 1-2 ไม่นับภาคฤดูร้อน) และถ้าไม่มาลงทะเบียนเรียนเทอม 2/61 อีก ก็จะทำให้ขาดสถานภาพการเป็นนักศึกษาโดยอัตโนมัติ ดังนั้นให้มาลงเทอม 2/61 เพื่อคงสถานภาพฯต่อไป
- สมมติ(2) ลงทะเบียนเรียนครั้งล่าสุดคือภาค 1/64 และลืมลงทะเบียนเรียนภาค 2/64 ก็ให้รอลงทะเบียนเรียนภาคฤดูร้อน/64 หรือรอลงทะเบียนเรียนภาค 1/65 ก็ได้
นักศึกษาสามารถตรวจสอบสถานภาพการเป็นนักศึกษาได้ที่ อาคาร สวป.
ตารางเรียน ม.ร.30
มหาวิทยาลัยจะทำตารางที่ระบุวิชาที่เปิดสอนในภาคเรียนนั้นๆให้นักศึกษาทราบก่อนเปิดให้ลงทะเบียนเรียนในทุกๆเทอม โดยตารางนี้เรียกว่า “ตาราง ม.ร.30” โดยสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ สวป.
คลิกที่นี่
การรีเกรด
การรีเกรด คือ การสอบวิชาที่เคยสอบผ่านไปแล้วใหม่อีกครั้ง โดยรีเกรดได้เฉพาะวิชาที่ได้ผลสอบ D หรือ D+ เท่านั้น โดยทำการลงทะเบียนเรียนวิชานั้น ๆ ใหม่อีกครั้ง ในภาคเรียนใดก็ได้ หากผลสอบแย่กว่าเก่า จะยึดผลสอบเดิม หากสอบได้ผลดีกว่าเก่าจะยึดผลสอบใหม่ โดยนับหน่วยกิตวิชานี้เพียงรอบเดียว
ตัวอย่าง
นายเอ สอบวิชา ENG1001 เมื่อภาค 1/64 ได้เกรด D+ แต่ไม่พอใจ ก็เลยนำวิชานี้ไปลงทะเบียนเรียนใหม่ในภาคฤดูร้อน/64 ปรากฏว่าสอบตก(ได้F) และลงทะเบียนสอบซ่อม และยังสอบตกอีก กรณีนี้นายเอ จะยังได้เกรด D+ เหมือนเดิม
ต่อมานายเอ นำวิชานี้ไปลงทะเบียนเรียนใหม่ในภาค 2/65 และสอบได้เกรด A กรณีนี้จะถือว่ารีเกรดสมบูรณ์แล้ว ในทรานสคริปต์จบการศึกษาจะบันทึกผลสอบวิชานี้ให้ได้เกรด A
วิธีลงทะเบียนเรียนรีเกรด
เลือกวิชาที่อยากรีเกรด โดยวิชานั้นต้องได้เกรด D หรือ D+ เท่านั้น เอาวิชานี้ไปลงทะเบียนเรียนใหม่ตามปกติเหมือนลงทะเบียนเรียนวิชาอื่นๆในเทอมไหนก็ได้(ลงทะเบียนเรียนใหม่นะ ไม่ใช่ลงทะเบียนสอบซ่อม) เข้าเรียนและเข้าสอบตามปกติ และรอผลสอบ
ไม่ต้องแจ้งมหาวิทยาลัยว่าเราจะรีเกรดวิชานี้ๆๆๆนะ ระบบจะรู้เองอัตโนมัติ และพอเรียนจบระบบจะเลือกเกรดที่ดีที่สุดที่รีเกรดให้เอง
งานทะเบียนนักศึกษา
การตรวจสอบสถานภาพด้วยตนเอง
มหาวิทยาลัยกำหนดให้นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียน ภาคเรียนที่ 1 และ 2 ทุก ๆ ปีการศึกษา (ไม่บังคับลงทะเบียนเรียนภาคฤดูร้อน) หากขาดการลงทะเบียนเรียนเกิน 2 ภาคปกติ(เฉพาะภาค 1 และภาค 2 เท่านั้น ไม่นับภาคฤดูร้อน) จะทำให้หมดสถานภาพการเป็นนักศึกษา
ตัวอย่าง
(1) ลงทะเบียนเรียนครั้งล่าสุดคือภาค ฤดูร้อน/63
ไม่ได้ลงทะเบียนเรียน 1/64 , 2/64 และ ภาคฤดูร้อน/64
พบว่า ไม่ได้ลงทะเบียนเรียนครบ 2 ภาคเรียนปกติ
✓ กรณีนี้ยังสามารถลงทะเบียนเรียนภาค 1/65 ได้ หากไม่ลงทะเบียนเรียนภาค 1/65 จะทำให้ขาดสถานภาพการเป็นนักศึกษาทันที
(2) ลงทะเบียนเรียนครั้งล่าสุดคือภาค ฤดูร้อน/63
ไม่ได้ลงทะเบียนเรียน 1/64 , 2/64 , ภาคฤดูร้อน/64, ภาค 1/65
พบว่า ไม่ได้ลงทะเบียนเรียนเกิน 2 ภาคเรียนปกติแล้ว (ไม่ได้ลงทะเบียนเรียน 3 ภาคปกติ)
✘ กรณีนี้ทำให้ขาดสถานภาพการเป็นนักศึกษาไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถลงทะเบียนเรียนได้อีก หากต้องการเรียนต่อ จะต้องสมัครเป็นนักศึกษาใหม่อีกครั้ง
(3) ลงทะเบียนเรียนครั้งล่าสุดคือภาค 1/64
ไม่ได้ลงทะเบียนเรียน 2/64
พบว่า ไม่ได้ลงทะเบียนเรียนเพียง 1 ภาคปกติ
✓ กรณีนี้สามารถลงทะเบียนเรียนภาคฤดูร้อน/64 ได้ หรือจะข้ามไปลงทะเบียนเรียนภาค 1/65 เลยก็ได้
การชำระค่ารักษาสถานภาพ
หากนักศึกษาพบว่า ไม่ได้ลงทะเบียนเรียนเพราะลงทะเบียนเรียนตามกำหนดไม่ทัน สามารถชำระเงินค่ารักษาสถานภาพของภาคการศึกษาที่ไม่ได้ลงทะเบียนเรียนได้ โดยมหาวิทยาลัยจะเปิดระบบให้ “ชำระเงินค่ารักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษา” ได้ตามกำหนดการ เมื่อชำระเงินแล้วนักศึกษาจะมีสถานภาพการเป็นนักศึกษาในภาคเรียนนั้น และเสมือนว่าไม่ได้ขาดการลงทะเบียนเรียน*
หากนักศึกษาพบว่าลืม “ชำระเงินค่ารักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษา” ตามกำหนดการที่มหาวิทยาลัยแจ้งไว้ และตรวจสอบแล้วว่ายังมีสิทธิ์ลงทะเบียนเรียนภาคเรียนถัดไปได้อยู่ สามารถรอลงทะเบียนเรียนภาคเรียนถัดไปได้เลย โดยค่ารักษาสถานภาพจะถูกเพิ่มเข้าไปกับการลงทะเบียนเรียนภาคเรียนถัดไปอัตโนมัติ
การนับปีการศึกษา
– นักศึกษาที่สมัครเรียนในหลักสูตร 4 ปี มีอายุสถานภาพนักศึกษา 8 ปีการศึกษา (24 ภาคการศึกษา)
– นักศึกษาที่สมัครเรียนในหลักสูตร 5 ปี มีอายุสถานภาพนักศึกษา 10 ปีการศึกษา (30 ภาคการศึกษา)
* ทั้งนี้ นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนอย่างต่อเนื่อง หรือขาดการลงทะเบียนเรียนไม่เกินที่กำหนด จึงจะยังคงสถานภาพได้ตามที่ระบุไว้ได้
ตัวอย่าง
– สมัครเรียนเมื่อ ภาค 1/2561 ในหลักสูตร 4 ปี หากลงทะเบียนเรียนอย่างต่อเนื่อง สามารถลงทะเบียนเรียนได้ถึงภาค ฤดูร้อน/2568 เป็นภาคเรียนสุดท้าย (รวม 24 ภาคการศึกษา)
– สมัครเรียนเมื่อ ภาค 2/2561 ในหลักสูตร 4 ปี หากลงทะเบียนเรียนอย่างต่อเนื่อง สามารถลงทะเบียนเรียนได้ถึงภาค 1/2569 เป็นภาคเรียนสุดท้าย (รวม 24 ภาคการศึกษา)
ผู้ที่ทำบัตรนักศึกษาหาย(ส่วนกลาง)
หากนักศึกษาทราบว่าบัตรประจำตัวนักศึกษาหาย ให้รีบดำเนินการแจ้งอายัดบัตรเป็นอันดับแรก
บัตรนักศึกษาที่เป็นของธนาคารไทยพาณิชย์ แจ้ง Call Center 02-777-7777 (เมื่อแจ้งอายัดแล้วบัตรจะไม่สามารถใช้งานธุรกรรมของธนาคารได้อีก) จากนั้นให้ดำเนินการทำบัตรประจำตัวนักศึกษาใบใหม่กับทางมหาวิทยาลัย
หลักฐานที่ต้องใช้
- ใบแจ้งความ “บัตรประจำตัวนักศึกษาหาย” ขอได้ที่โรงพัก/สถานีตำรวจที่ใดก็ได้
- ใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมทำบัตรประจำตัวนักศึกษาใหม่ 100 บาท ชำระค่าธรรมเนียมได้ที่กองคลัง สำนักงานอธิการบดี ชั้น1 รามฯ1 (เวลาทำการกองคลัง 8:30-15:00น)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
สถานที่
ติดต่อขอทำบัตรฯใหม่ได้ที่
ฝ่ายทะเบียนประวัติฯ อาคาร สวป. ชั้น2
ให้บริการวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08:30-16:00น.
(ปิดบริการวันหยุดราชการ)
หมายเหตุ
- โปรดแต่งกายสุภาพ เสื้อมีปก เนื่องจากต้องถ่ายภาพทำบัตรใหม่
- นักศึกษาจะยังไม่ได้รับบัตรใหม่ทันที ต้องรอประมาณ 30 วัน โดยจะได้รับ “ใบนัดรับบัตร” และ “แผ่น ม.ร.2” แนบติดกัน โดยใช้เอกสารทั้งสองใบนี้ แทนบัตรนักศึกษาชั่วคราวจนกว่าจะได้รับบัตรใหม่ (ใช้เป็นหลักฐานแทนบัตรจริงเพื่อเข้าห้องสอบได้)
- นักศึกษาส่วนกลาง รับบัตรที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาม.รามคำแหง หัวหมาก (ตึก สวป.)
การแจ้งขอเปลี่ยนชื่อ, สกุล, คำนำหน้า, ยศ
นักศึกษาสามารถแจ้งขอเปลี่ยนชื่อ – สกุล, คำนำหน้านาม และชั้นยศ ได้โดยให้เตรียมเอกสารดังนี้
เอกสารที่ต้องใช้ประกอบ
- สำเนาการเปลี่ยนชื่อ – สกุล, คำนำหน้านาม, ชั้นยศ จำนวน 2 ชุด
- สำเนาบัตรประชาชน จำนวน 2 ชุด
- ใบเสร็จค่าธรรมเนียมทำบัตรประจำตัวนักศึกษาใหม่ (ชำระเงินที่กองคลัง อาคารสำนักงานอธิการบดี ชั้น 1 จำนวน 100 บาท)
- กรณีสำเร็จการศึกษา ประสงค์เปลี่ยนชื่อ – สกุล, คำนำหน้านาม และชั้นยศ จะต้องขอเปลี่ยนชื่อ – สกุล, คำนำหน้านาม และชั้นยศ ก่อนแจ้งจบการศึกษาที่ฝ่ายทะเบียนคณะที่นักศึกษาสังกัด
โดยชำระค่าธรรมเนียม 5 บาท ณ จุดบริการ ไม่ต้องทำบัตรประจำตัวนักศึกษาใหม่ ทั้งนี้ นักศึกษาต้องนำบัตรประจำตัวนักศึกษา และใบเสร็จรับเงินลงทะเบียนเรียน(ถ้ามี) ในภาคปัจจุบันมาด้วย พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน
สถานที่
ฝ่ายทะเบียนประวัตินักศึกษา
อาคารสำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล (อาคาร สวป.) ชั้น 2 ม.รามฯ1
เวลา 08.30-16.00 น.
เปิดบริการวันจันทร์ – ศุกร์ (ปิดบริการในวันหยุดราชการ)
การพิมพ์ใบเสร็จรับเงินลงทะเบียนเรียน
นักศึกษาสามารถปริ้นท์(Print) ใบเสร็จรับเงินลงทะเบียนเรียน ทั้งฉบับจริง และฉบับสำเนาได้ด้วยตัวเองโดยไม่มีค่าใช้จ่าย จากระบบ e-Service ที่ https://beta-e-service.ru.ac.th/ ตั้งแต่ภาค 1/2563 เป็นต้นไป
หมายเหตุ
- ใบเสร็จฯฉบับจริง ที่ปริ้นท์จากระบบ e-Service กดปริ้นท์ได้ 1 ครั้งเท่านั้น
- ใบเสร็จฯฉบับสำเนา กดปริ้นท์จากระบบ e-Service ได้ไม่เกิน 100 ครั้ง
- หากไม่มีความจำเป็นต้องใช้ใบเสร็จฯฉบับจริง ไม่ต้องปริ้นท์ออกมา
- เมื่อลงทะเบียนเรียนเสร็จแล้ว จะยังไม่สามารถปริ้นท์ใบเสร็จลงทะเบียนเรียนออกมาได้ในทันที โดยมหาวิทยาลัยจะประกาศกำหนดวันที่สามารถเริ่มพิมพ์ใบเสร็จลงทะเบียนเรียนภายหลัง
การขอสำเนาใบเสร็จรับเงินลงทะเบียนเรียนที่มหาวิทยาลัย
ขอได้ที่ One Stop Service อาคารกงไกรลาศ(KLB) ชั้น 1 ม.รามฯ 1 หัวหมาก
เวลา 08.30-16.00 น. เปิดบริการวันจันทร์-ศุกร์ และวันหยุดที่มีการสอบ (ปิดบริการวันหยุดราชการ)
หมายเหตุ
- การขอสำเนาใบเสร็จฯที่มหาวิทยาลัย มีค่าบริการฉบับละ 10 บาท
- การขอสำเนาใบเสร็จฯที่มหาวิทยาลัย จะได้รับใบเสร็จฉบับสำเนาเท่านั้น (หากต้องการฉบับจริง ให้ปริ้นท์เองผ่านระบบ e-Service)
(1) ใบตรวจสอบผลการศึกษา (Check Grade)
ตรวจสอบผลการศึกษา (Check Grade) ทุกรหัส
ดำเนินการขอได้ที่ One Stop Service อาคารกงไกรลาศ(KLB) ชั้น 1 ม.รามฯ 1 หัวหมาก
เวลา 08.30-16.00 น. เปิดบริการวันจันทร์-ศุกร์ และวันหยุดที่มีการสอบ (ปิดบริการวันหยุดราชการ)
ค่าธรรมเนียมการให้บริการ
– นักศึกษาภาคปกติ 40.- บาท
– นักศึกษาภาคพิเศษ 200.- บาท
(2) การขอใบรับรองผลไม่สำเร็จการศึกษา (Transcript)
นักศึกษาส่วนกลาง และนักศึกษาส่วนภูมิภาค (ภาคปกติ)
ดำเนินการด้วยตนเอง หรือผู้อื่นดำเนินการแทน
หลักฐานที่ต้องใช้
1. บัตรประจำตัวนักศึกษา
2. ค่าธรรมเนียม ภาษาไทยหรืออังกฤษ ภาษาละ 50 บาท (เลือกขอภาษาเดียวหรือทั้ง 2 ภาษาก็ได้)
สถานที่
นำหลักฐานทั้งหมด ไปติดต่อที่งาน One Stop Service อาคาร KLB (กงไกรลาศ) ชั้น ๑ เปิดบริการวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.00 น. (ปิดบริการวันหยุดราชการ)
*เปิดบริการในวันหยุดเฉพาะวันหยุดที่มีการสอบเท่านั้น
การขอหนังสือรับรองการเป็นนักศึกษา
– ใบรับรองการเป็นนักศึกษา ค่าธรรมเนียม 50 บาท/ชุด
– ใบรับรองการเป็นนักศึกษาภาษาอังกฤษ ค่าธรรมเนียม 50 บาท/ชุด
นักศึกษาส่วนกลางและนักศึกษาส่วนภูมิภาค ยื่นด้วยตนเองหรือผู้ดำเนินการแทนใช้หลักฐาน ดังนี้
หลักฐานที่ต้องใช้
1. ใบเสร็จรับเงินลงทะเบียนภาคล่าสุด
2. บัตรประจำตัวนักศึกษา
3. ใบคำร้องที่กรอกเรียบร้อยแล้ว
4. รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว จำนวน 1 รูป (เฉพาะภาษาไทย)
ช่วงระยะเวลาที่ขอได้
ตลอดทั้งปี
สถานที่
นำหลักฐานทั้งหมด ไปติดต่อที่งาน One Stop Service อาคาร KLB (กงไกรลาศ) ชั้น 1 เปิดบริการวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.00 น. (ปิดบริการวันหยุดราชการ)
*เปิดบริการในวันหยุดเฉพาะวันหยุดที่มีการสอบเท่านั้น
ยื่นขอทางไปรษณีย์
ให้เตรียมหลักฐานต่อไปนี้
1. สำเนาบัตรนักศึกษา (รับรองสำเนาถูกต้อง 1 ฉบับ)
2. รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว 1 รูป
3. ธนาณัติราคา 120 บาท (ค่าใบรับรอง 50 บาท ค่าจัดส่ง 70 บาท)
สั่งจ่าย “หัวหน้าฝ่ายประมวลผลการศึกษาและหนังสือสำคัญ ปณ.รามคำแหง 10241”
4. สำเนาใบเสร็จรับเงินการลงทะเบียนเรียนภาคปัจจุบัน
5. กระดาษเปล่าเขียนชื่อ-สกุล, หมายเลขโทรศัพท์เพื่อการติดต่อกลับ
นำหลักฐานทั้งหมดใส่ซองแล้วส่งมาที่
“หัวหน้าฝ่ายประมวลผลการศึกษาและหนังสือสำคัญ”
สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล (สวป.)
มหาวิทยาลัยรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร ฯ 10240
คลิกอ่านรายละเอียดและกำหนดการ ประจำปีการศึกษา 2565 ได้ที่นี่ คลิก
การแจ้งจบการศึกษา
เมื่อนักศึกษาตรวจสอบด้วยตนเองแล้วว่าเรียนครบหลักสูตรแล้ว(สอบผ่านทุกวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแล้ว) และผลสอบประกาศผลเรียบร้อยแล้ว ขอให้ติดต่อคณะที่สังกัด เพื่อแจ้งจบการศึกษา โดยแต่ละคณะมีรายละเอียดการขอแจ้งจบการศึกษาคล้ายคลึงกัน ขอให้นักศึกษาสอบถามรายละเอียดดังกล่าว(กำหนดวันแจ้งจบ, หลักฐานที่ต้องใช้) กับทางคณะโดยตรง
การสอบไล่
มหาวิทยาลัยได้จัดทำ “ปฏิทินการศึกษา”
ที่เป็นตารางกำหนดวันสำคัญต่างๆ ทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค เพื่อให้นักศึกษาใช้วางแผนการศึกษาได้ตลอดทั้งภาคการศึกษา โดยกำหนดการดังกล่าวประกอบด้วย
- วันเริ่มบรรยาย(เปิดเทอม)
- วันลงทะเบียน (ออนไลน์, ไปรษณีย์, ด้วยตนเอง)
- วันลงทะเบียนสอบซ่อม
- วันสอบระบบ e-Testing
- วันบอกเลิก-บอกเพิ่มกระบวนวิชา
- วันสอบซ่อม
- วันสอบไล่
ดูปฏิทินการศึกษา ผ่านเว็บไซต์ของรอบรั้วรามฯ คลิกที่นี่
นอกจากนี้ นักศึกษาดาวน์โหลดปฏิทินการศึกษาประจำภาคการศึกษานั้นๆ ได้จากเว็บไซต์ สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล หรือ เว็บไซต์มหาวิทยาลัย ดังนี้
สวป. http://www.regis.ru.ac.th/
รอบรั้วรามฯ https://www.aroundram.com/yearplan/
หรือดูรายละเอียดได้จาก “ตารางสอบไล่รายบุคคล” ในหัวข้อถัดไป
“ตาราง ม.ร.30”
ตาราง ม.ร.30 คือ ตารางที่มหาวิทยาลัยจะประกาศให้ทราบก่อนการลงทะเบียนเรียนทุกภาคการศึกษาเพื่อให้นักศึกษาใช้วางแผนการเรียน/การสอบ โดยจะระบุกระบวนวิชาที่นักศึกษาสามารถลงทะเบียนได้ในภาคนั้น ๆ แล้วยังมี วัน/เวลาสอบ ของแต่ละวิชาด้วย
ดาวน์โหลดตาราง ม.ร.30 ได้ที่
http://www.regis.ru.ac.th/index.php/schedule/mr30_central
ตารางสอบไล่รายบุคคล
ตารางสอบไล่รายบุคคล คือ เอกสารที่ระบุรายละเอียดในการสอบแต่ภาคการศึกษา (ภาค 1, 2, ฤดูร้อน, สอบซ่อม) โดยมีรูปร่างลักษณะเหมือนกับตารางของภาพด้านล่างนี้ ซึ่งรายละเอียดในตารางสอบไล่รายบุคคลประกอบด้วย…
(1) รายละเอียดของนักศึกษา
ประกอบด้วยรหัสประจำตัวนักศึกษา และชื่อ-นามสกุล
(2) รายละเอียดการสอบ
ในตารางส่วนนี้ประกอบด้วยรายละเอียดการสอบของวิชาที่เราได้ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษานี้ ได้แก่รหัสวิชา
– วิชา
– วันที่สอบ
– เวลาสอบ
– สถานที่สอบ
– จำนวนข้อสอบปรนัย
– จำนวนข้อสอบอัตนัย
– เลขที่แถว
– เลขที่นั่ง
ให้นักศึกษาจดบันทึก พิมพ์ ปริ้นท์ ตารางสอบไล่รายบุคคลติดตัวไว้ในช่วงที่มีการสอบ
ดูตารางสอบไล่รายบุคคลได้ที่ไหน
มหาวิทยาลัยจะเริ่มประกาศตารางสอบไล่รายบุคคลให้นักศึกษาทราบ ก่อนการสอบในแต่ละภาคประมาณ 1 สัปดาห์
สมมติว่า สอบวันแรกวันที่ 7 ม.ค. ตารางสอบไล่ก็จะเริ่มดูได้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.)
ดูได้ผ่านระบบ e-Service หรือที่หน้าเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยไม่มีการแจกตารางสอบไล่รายบุคคลรูปแบบกระดาษแล้ว นักศึกษาสามารถดูออนไลน์ผ่านระบบ e-Service แทน
หลักฐานที่ใช้ในการเข้าห้องสอบที่มหาวิทยาลัย
(1) รายละเอียดของนักศึกษา
สิ่งที่ใช้แสดงตนในการเข้าห้องสอบ จำนวน 2 อย่าง ขาดไม่ได้ มีดังนี้
- บัตรประจำตัวนักศึกษา ฉบับจริง
- บัตรประจำตัวประชาชน ฉบับจริง
(หรือใบอนุญาตขับขี่, บัตรประจำตัวข้าราชการ, บัตรที่ทางราชการออกให้)
หากขาดสอบจะต้องทำอย่างไร
หากนักศึกษาขาดสอบ (มาไม่ทันเวลาสอบ, ไม่ได้มาสอบ) จะได้ผลสอบในวิชานั้นเป็นเกรด F (สอบตก) โดยนักศึกษายังมีโอกาสลงทะเบียนสอบซ่อมในวิชาดังกล่าวได้อีกครั้ง หรือหากไม่ต้องการสอบวิชานี้อีกแล้ว(ไม่ใช่วิชาบังคับ)ให้ปล่อยทิ้งไปได้เลย มหาวิทยาลัยจะไม่นำเกรด F มาคำนวณเกรดเฉลี่ย และเกรด F จะไม่ปรากฎในทรานสคริปท์ตอนจบการศึกษา
เมื่อไหร่มหาวิทยาลัยจะประกาศผลสอบ
มหาวิทยาลัยจะเริ่มประกาศผลการสอบ
หลังจาก 45 วัน นับจากวันสอบไล่วันสุดท้ายของภาคนั้นๆ เช่น
หากการสอบภาค 1 สอบเสร็จวันสุดท้ายคือวันที่ 1 พฤศจิกายน
ผลการสอบจะเริ่มประกาศให้ทราบประมาณวันที่ 15 ธันวาคม (นับประมาณได้ 45 วัน)
การประกาศก่อนหรือหลังนั้น ขึ้นอยู่กับการตรวจสอบและจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนสอบด้วย
ช่องทางการประกาศผลการสอบ
- ประกาศผลสอบที่ “บอร์ดประกาศผลสอบ” ที่ติดตั้งอยู่ที่บริเวณคณะต่างๆ(เฉพาะนักศึกษาส่วนกลางเท่านั้น)
- ประกาศผลสอบผ่านระบบ e-Service
โปรดทราบ
- ผลสอบที่มีสัญลักษณ์ # กำกับอยู่ หมายถึง ผลสอบอย่างไม่เป็นทางการ
ขอให้นักศึกษารอผลสอบอีกสักระยะ ให้เครื่องหมาย # หายไป จึงจะถือว่าเป็นผลสอบที่เป็นทางการ ได้รับการยืนยันแล้ว - การขอดูกระดาษคำตอบ หากนักศึกษาสงสัยในผลการสอบ ให้ติดต่อสอบถามเพื่อติดตามกับอาจารย์ผู้สอนของวิชานั้นๆโดยตรง
การสอบซ้ำซ้อนคืออะไร
สอบซ้ำซ้อน คือ การทำข้อสอบหลายวิชาในคาบเดียวกัน โดยอนุญาตให้สอบซ้ำซ้อนได้เฉพาะนักศึกษาที่กากบาทขอจบการศึกษาเท่านั้น
สมมติว่า
– วิชา A สอบวันที่ 1 ม.ค. 2564 คาบ A
– วิชา B สอบวันที่ 1 ม.ค. 2564 คาบ A
ตรวจสอบแล้วว่าวิชา A และ B สอบวัน/เวลาเดียวกัน ถ้าเป็นกรณีปกติ นักศึกษาจะต้องเลือกสอบเพียงวิชาเดียวเท่านั้น แต่ถ้านักศึกษากากบาทขอจบการศึกษาในภาคเรียนนี้ และพบว่ามีวิชาที่วัน/เวลาสอบตรงกัน ให้แจ้ง “ขอสอบซ้ำซ้อน” เพื่อขอสอบวิชา A และ B พร้อมกันได้
คุณสมบัติผู้ที่สามารถขอสอบซ้ำซ้อนได้
- เป็นผู้ยื่นความจำนงขอจบ(กากบาทขอจบในใบเสร็จลงทะเบียนเรียน) โดยมีหน่วยกิตที่หลือไม่เกิน 30 หน่วยกิตในภาคปกติและไม่เกิน 18 หน่วยกิตในภาคฤดูร้อน
- กระบวนวิชาที่สอบซ้ำซ้อนต้องไม่เป็นวิชาที่เลือกกระบวนวิชาอื่นแทนได้
การยื่นขอสอบซ้ำซ้อน
- ให้แจ้งขอสอบซ้ำซ้อนผ่านระบบ e-Service ตามกำหนดการ และรอผลการอนุมัติจากระบบ เมื่อผลสำเร็จแล้วจึงจะถือว่าขอสอบซ้ำซ้อนสมบูรณ์
- หากนักศึกษาแจ้งข้อความเป็นเท็จ จะถือว่านักศึกษากระทำผิดวินัยมีโทษปรับตกทุกกระบวนวิชา และห้ามลงทะเบียนเรียนภาคปกติ
การจัดสอบและแจกข้อสอบ
- ให้แต่ละคณะที่นักศึกษาสังกัดดำเนินการจัดสอบซ้ำซ้อนเอง ตามวัน เวลา และการสอบมหาวิทยาลัยกำหนด โดยเพิ่มเวลาสอบของทุกคาบการสอบซ้ำซ้อน เพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น
- เมื่อเริ่มสอบให้แจกข้อสอบกระบวนวิชาแรกวิชาเดียว หลังจากการสอบผ่านพ้นไปแล้ว 1 ชั่วโมง ให้แจกข้อสอบกระบวนวิชาที่สองและกระบวนวิชาที่สาม (ถ้ามี)
- เมื่อหมดเวลาการสอบของกระบวนวิชาแรก ให้กรรมการคุมสอบเก็บกระดาษคำตอบกระบวนวิชาแรกทันที
- ให้แต่ละคนที่ดำเนินการสอบซ้ำซ้อน รับและส่งข้อสอบกระดาษคำตอบทุกกระบวนวิชาที่กรรมการรับส่งข้อสอบเพียงแห่งเดียว
การสอบแบบ e-Testing
การสอบแบบ e-Testing คืออะไร
- การสอบแบบ e-Testing เป็นการสอบรูปแบบหนึ่งของมหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดสอบสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีภาคปกติ และนักศึกษาระบบพรีดีกรี ส่วนกลาง เปิดสอบเฉพาะภาค 1, 2 และภาคฤดูร้อน
- นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนตามปกติเสียก่อน จึงจะมีสิทธิ์ลงทะเบียนขอสอบ e-Testing
- สามารถลงทะเบียนขอสอบแบบ e-Testing ตามที่มหาวิทยาลัยเปิดให้สอบเท่านั้น
- สามารถเลือก วันสอบ เวลาสอบ ได้ตามความสะดวก
- เป็นการทำข้อสอบด้วยคอมพิวเตอร์ ในห้องสอบที่มหาวิทยาลัยจัดไว้ (ไม่ใช่การสอบที่บ้าน)
- ข้อสอบเป็นแบบ ปรนัย(ตัวเลือก)เท่านั้น ไม่มีข้อสอบแบบอัตนัย(เขียนคำตอบ)
- การสอบ e-Testing ใช้ระบบคลังข้อสอบหมุนเวียนสลับกัน จะลอกกันไม่ได้
- เมื่อทำข้อสอบเสร็จ จะทราบผลการสอบในทันที
- หากสอบ e-Testing ผ่าน ไม่ต้องเข้าสอบปลายภาคอีก(ห้ามเข้าสอบปลายภาค)
- หากสอบ e-Testing ไม่ผ่าน ยังสามารถเข้าสอบปลายภาคได้อีกครั้ง
- มหาวิทยาลัยไม่บังคับให้นักศึกษาต้องลงทะเบียนขอสอบ e-Testing (จะขอสอบ e-Testing หรือไม่ก็ได้)
ค่าธรรมเนียมการสอบ e-Testing
ค่าธรรมเนียมการขอสอบ e-Testing กระบวนวิชาละ 200 บาท
การสอบ e-Testing เลือกสอบเวลาใดได้บ้าง
เปิดให้สอบได้ทุกวัน จันทร์-อาทิตย์ โดยแบ่งเป็นคาบเวลาดังนี้
- เลือกสอบวันจันทร์ – ศุกร์ เลือกสอบได้ 3 คาบเวลา คือ
09.00-11.30น.
12.00-14.30 น.
15.00-17.30 น. - เลือกสอบวันเสาร์-อาทิตย์ เลือกสอบได้ 4 คาบเวลา คือ
09.00-11.30น.
12.00-14.30 น.
15.00-17.30 น.
18.00-20.30 น.
เปิดให้ลงทะเบียนขอสอบแบบ e-Testing เมื่อไหร่
ดูกำหนดการเปิดรับลงทะเบียนสอบ e-Testing ได้ที่
1. ปฏิทินการศึกษา คลิก
2. Facebook เพจ : E-Testing สวอ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ต้องการลงทะเบียนขอสอบ e-Testing ต้องทำอย่างไร
- ลงทะเบียนเรียนในภาคปกติให้เรียบร้อยเสียก่อน
- ตรวจสอบวิชาที่เปิดให้สอบ e-Testing (หากมหาวิทยาลัยไม่เปิดให้สอบวิชา A ก็จะขอสอบ e-Testing ไม่ได้)
ดูวิชาที่เปิดให้สอบ e-Testing ได้ที่ www.facebook.com/RU.ETESTING - ตรวจสอบกำหนดวันที่เปิดให้ลงทะเบียนสอบ e-Testing
ดูกำหนดวันลงทะเบียนสอบ e-Testing ได้จากปฏิทินการศึกษา คลิก - ลงทะเบียนขอสอบ e-Testing ผ่านระบบ e-Service
คลิกที่เมนู “ลงทะเบียน E-Testing” ในระบบ e-Service คลิก - ทำตามขั้นตอนการลงทะเบียน – ชำระเงิน – พิมพ์ใบเสร็จไว้เป็นหลักฐาน
- เข้าสอบตามวัน/เวลาที่เลือกไว้ โดยให้เตรียมหลักฐานเข้าห้องสอบคือ บัตรประจำตัวนักศึกษา ฉบับจริง + ใบเสร็จรับเงินลงทะเบียนเรียนภาคเรียนปกติ + ใบเสร็จรับเงินลงทะเบียนสอบ e-Testing
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
สถาบันบริการวิชาการทางอิเล็กทรอนิกส์ (สวอ.) มหาวิทยาลัยรามคำแหง อาคารสุโขทัย ชั้น 10 โทร. 02-310-8790 (วันและเวลาราชการ)
Facebook : E-Testing สวอ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สำเร็จการศึกษาแล้ว
ตารางเทียบปีที่สำเร็จการศึกษา กับปีที่จะได้รับพระราชทานปริญญาบัตรได้ที่นี่
>>> คลิก <<<
ต้องทำอย่างไร ?
ผู้สำเร็จการศึกษาที่ไม่ประสงค์เข้าพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ให้ดำเนินการตามขั้นตอนการแจ้งจบการศึกษา การขึ้นทะเบียนบัณฑิต การขอเอกสารสำคัญ(ใบรับรอง, ทรานสคริปต์)ให้เสร็จสิ้น และสามารถนำหลักฐานที่ได้รับไปสมัครงาน หรือสมัครเรียนต่อได้เลย
ผู้สำเร็จการศึกษาที่ไม่ประสงค์เข้าพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ไม่จำเป็นต้องแจ้งความประสงค์ให้มหาวิทยาลัยทราบ เพียงไม่ต้องเข้าร่วมกิจกรรมการซ้อมย่อย การซ้อมใหญ่ และไม่เข้าวันพิธี รายชื่อก็จะถูกนำออกจากรายชื่อผู้เข้าร่วมพิธีแล้ว
จะได้รับใบปริญญายังไง/ตอนไหน ?
ผู้สำเร็จการศึกษาที่ไม่ประสงค์เข้าพิธีพระราชทานปริญญาบัตร สามารถเข้ารับใบปริญญาด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจรับแทน ได้ที่ ฝ่ายหนังสือสำคัญ อาคาร สวป. ชั้น 1 หรือยื่นคำร้องให้จัดส่งทางไปรษณีย์ หลังจากที่ผ่านพ้นพิธีพระราชทานปริญญาบัตรไปแล้วประมาณ 1 เดือน โดยดูขั้นตอนและรายละเอียดที่นี่ คลิก
การขอใบรับรองผลสำเร็จการศึกษา (Transcript)
สามารถดำเนินการขอใบรับรองผลสำเร็จการศึกษาได้ 2 กรณีคือ ด้วยตนเองหรือผู้ดำเนินการแทน และทางไปรษณีย์
ดำเนินการด้วยตนเอง หรือผู้ดำเนินการแทน
- ชำระค่าธรรมเนียม ภาษาอังกฤษ ชุดละ 100 บาท หรือภาษาไทย ชุดละ 100 บาท หรือทั้ง 2 แบบ 200 บาท ที่กองคลัง อาคารสำนักงานอธิการบดี ชั้น 1
(รหัส 2514-2525 มีเฉพาะภาษาอังกฤษและต้องแนบรูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว สีหรือขาวดำจำนวน 1 รูปเป็นรูปสวมชุดครุย) - นำใบเสร็จค่าธรรมเนียมไปติดต่อที่ ฝ่ายประมวลผลการศึกษาและหนังสือสำคัญ อาคาร สวป. ชั้น 1 ช่อง 5 มหาวิทยาลัยรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ฯ 10240
ดำเนินการทางไปรษณีย์
- ส่งค่าธรรมเนียมเป็นธนาณัติไปรษณีย์ ภาษาไทย ชุดละ 100 บาท หรือภาษาอังกฤษ ชุดละ 100 บาท หรือทั้ง 2 แบบ 200 บาท สั่งจ่ายในนาม “หัวหน้าฝ่ายประมวลผลการศึกษาและหนังสือสำคัญ”
(รหัส 2514-2525 มีเฉพาะภาษาอังกฤษและต้องแนบรูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว สีหรือขาวดำจำนวน 1 รูปเป็นรูปสวมชุดครุย) - เขียนรายละเอียดต่อนี้ลงในกระดาษ ชื่อ นามสกุล รหัสประจำตัวนักศึกษา คณะ สาขาวิชา ระบุการขอรับเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ หรือทั้ง 2 แบบ, ที่อยู่ที่รับเอกสารส่งกลับ, ที่อยู่ปัจจุบันที่สามารถติดต่อได้, เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้อย่างรวดเร็ว
- ส่งเอกสารทั้งหมดไปที่
หัวหน้าฝ่ายประมวลผลการศึกษาและหนังสือสำคัญ
สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล มหาวิทยาลัยรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ฯ 10240
การขอใบรับรองสภา ฯ
นักศึกษาส่วนกลางและนักศึกษาส่วนภูมิภาค
ดำเนินการด้วยตนเอง หรือให้ผู้อื่นดำเนินการแทน โดยนำหลักฐานดังนี้ไปติดต่อ
- ใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียม 20 บาท (ชำระเงินที่กองคลัง สำนักงานอธิการบดี)
- รูปถ่ายสีหรือขาวดำ สวมชุดครุยมหาวิทยาลัย ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 1 รูป (ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน)
- สำเนาบัตรประจำตัวนักศึกษา 1 ฉบับ
- ในกรณีให้ผู้อื่นดำเนินการแทน เมื่อมารับใบรับรองสภา ฯ ให้นำใบมอบฉันทะ (แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนทั้งของผู้ยื่นขอ และผู้รับมอบ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง) และใบนัดให้มารับใบรับรอง ฯ
- ให้นำหลักฐาน ข้อ 1 ถึงข้อ 4 ไปติดต่อที่
ฝ่ายประมวลผลการศึกษาและหนังสือสำคัญ
อาคารสำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล (สวป.) ชั้น 1 ช่อง 4
มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก
ในวันเวลาราชการ
นักศึกษาที่มีความประสงค์จะขอใบรับรองสภา ฯ ทางไปรษณีย์ ให้ส่งเอกสารดังต่อไปนี้
- ธนาณัติราคา 70 บาท ในกรณีได้ชำระค่าขึ้นทะเบียนบัณฑิตแล้ว (ค่าใบรับรองสภา ฯ 100 บาท, ค่าจัดส่ง 50 บาท) ถ้ายังไม่ได้ชำระค่าขึ้นทะเบียนบัณฑิตให้ส่งธนาณัติราคา 1,150 บาท (ค่าขึ้นทะเบียนบัณฑิต 1,000 บาท, ค่าใบรับรองสภาฯ 100 บาท, ค่าจัดส่ง 50 บาท) สั่งจ่ายในนาม “หัวหน้าฝ่ายประมวลผลการศึกษาและหนังสือสำคัญ”
- รูปถ่ายสีหรือขาวดำ สวมชุดครุยมหาวิทยาลัย ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 1 รูป (ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน) ห้ามใช้รูปโพลารอยด์ หรือรูปที่ Scan ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือรูปตัดต่
- สำเนาบัตรประจำตัวนักศึกษา รับรองสำเนาถูกต้อง
- เขียนชื่อ นามสกุล ชื่อปริญญา คณะ ภาค/ปีการศึกษาที่จบ
- เขียนชื่อ นามสกุล ที่อยู่ที่ส่งกลับให้ชัดเจน
- ใบเสร็จค่าขึ้นทะเบียนบัณฑิต
ส่งเอกสารไปที่
หัวหน้าฝ่ายประมวลผลการศึกษาและหนังสือสำคัญ สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล มหาวิทยาลัยรามคำแหง
แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ฯ 10240 (โทร. 02-310-8629)
หมายเหตุ การยื่นขอใบรับรองสภาฯ ทั้งด้วยตนเองและทางไปรษณีย์ นักศึกษาต้องมีรายชื่อที่สภาฯอนุมัติปริญญาแล้ว
ผู้สำเร็จการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง สามารถสมัครเป็นนักศึกษาใหม่และเทียบโอนหน่วยกิตจากปริญญาใบแรก เพื่อเรียนต่ออีกปริญญาได้ ดูจำนวนหน่วยกิตที่สามารถเทียบโอนได้จากระเบียบการรับสมัคร คลิก
ขอคำปรึกษาการเรียน
นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ และนักศึกษาพรีดีกรี สามารถขอรับคำปรึกษา ขอคำแนะนำ เกี่ยวกับระบบการเรียนได้ ดังนี้
- ขอรับคำปรึกษาด้านหลักสูตร/วิชา/แผนการเรียน
ได้ที่ จุดบริการนักศึกษา ประจำคณะต่างๆที่นักศึกษาสังกัดอยู่ (วันและเวลาทำการราชการ) - ขอรับคำปรึกษาด้านงานทะเบียน/เอกสารสำคัญ
ได้ที่ สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล (อาคาร สวป.) ที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ ชั้น 1 หรือห้องแนะแนว ชั้น 4 (วันและเวลาทำการราชการ)
หมายเหตุ นักศึกษาภาคพิเศษ/โครงการพิเศษ ติดต่อได้ที่สำนักงานโครงการหลักสูตรที่สังกัด